ไร้สาระนุกรม:นโยบายและแนวปฏิบัติ

จากไร้สาระนุกรม — ส่วนหนึ่งของโครงการไร้สาระนุกรมเสรี แหล่งรวบรวมเรื่องราวตลกขบขันและบิดเบือนข้อเท็จจริง
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
คู่มือในการเขียน
นโยบาย
นโยบาย
ห้าเสาหลัก
อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม
สังคายนาไร้สาระนุกรม
คู่มือพื้นฐาน
เริ่มต้น
หลักการตั้งชื่อบทความ
การแก้ไขหน้า
เริ่มเขียนบทความใหม่
การจัดหน้าโดยใช้แม่แบบช่วย
เขียนให้ดียิ่งขึ้น
การอัปโหลดภาพ
การใส่ไฟล์ภาพ คลิป และแฟลช
การสร้างตาราง
การจัดหมวดหมู่
การสร้างหน้าเปลี่ยนทาง
การลิงก์มาที่ไร้สาระนุกรม
การแก้ความกำกวม
การรวมหัวข้อซ้ำ
เทคนิคการใช้งาน
อธิบาย
การแก้ไขเล็กน้อย
คำอธิบายอย่างย่อ
การทับศัพท์
คำทับศัพท์ในไร้สาระนุกรม
อ้างอิง
การอ้างอิงแหล่งที่มา
พจนานุกรม
สีที่ใช้ในเว็บ
แม่แบบ
แม่แบบ
โครง
แม่แบบแสดงข้อความ
แม่แบบเชื่อมโยงหัวข้อ
วิธีการสร้างแม่แบบ
โค้ดชั้นสูง
สีที่ใช้ในเว็บ

ไร้สาระนุกรม เป็นสารานุกรมอันไร้สาระที่ทุกคนเป็นเจ้าของ และสร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของผู้สนับสนุนทุกคน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ:

จุดมุ่งหมายของเราคือ เพื่อสร้างสารานุกรมที่เสรีแต่เชื่อถือไม่ได้
- อันที่จริงคือ สร้างสารานุกรมไร้สาระที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งด้านการบิดเบือน ความฮา และเรื่องตลก

นโยบายหลัก

คุณไม่จำเป็นต้องอ่านนโยบายทั้งหมดของไร้สาระนุกรมก่อนลงมือช่วยเหลือ เขียน หรือแก้ไข อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านี้มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อโครงการ ถ้าคุณเข้าใจมันได้ ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี:

  1. ไร้สาระนุกรมเป็นไร้สาระนุกรม หรือสารานุกรมอันไร้สาระที่เน้นการล้อเลียนวิกิพีเดีย เป้าหมายไม่ได้มีมากไปกว่านั้น เนื้อหาที่ไม่เป็นไร้สาระนุกรมจะต้องถูกย้ายไปยังโครงการอื่น (ดู อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม และ เงื่อนไขในการนับว่าเป็นไร้สาระนุกรม)
  2. ไร้สาระแบบสร้างสรรค์ เนื่องด้วยไร้สาระนุกรมเป็นเว็บไซต์ที่เน้นการนำบทความต่าง ๆ มาดัดแปลงล้อเลียนให้เฮฮาขำขันมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดัดแปลงล้อเลียนที่ไม่สร้างสรรค์ มันจะไม่ทำให้บทความนั้นดูมีความตลกขบขันมากขึ้นเลย หนำซ้ำ ยังจะทำให้เว็บไซต์ดูเป็นไปในทางลบมากกว่าทางบวกอีกด้วย ดังนั้นผู้เขียนทุกคนจะต้องคำนึงถึงการดัดแปลงแบบสร้างสรรค์อยู่เสมอ (ดู การล้อเลียนสิ่งที่มีอยู่จริง)
  3. ให้เกียรติผู้อื่น ผู้ที่ช่วยเขียนไร้สาระนุกรมมาจากหลายที่ทั่วโลก ต่างเพศ ต่างอายุ ต่างพื้นฐานทางสังคม และต่างวัฒนธรรม ย่อมทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกัน การให้เกียรติและการยอมรับผู้อื่นเป็นกุญแจหลักที่จะทำให้การร่วมมือในการสร้างไร้สาระนุกรมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดู มารยาทในไร้สาระนุกรม)
  4. หลีกเลี่ยงความเป็นกลาง บทความไม่ควรเขียนด้วยมุมมองที่เป็นกลาง โดยนำเสนอมุมมองต่อหัวข้อนั้น ทั้งข้อเท็จจริงและความคิดเห็น โดยเน้นความฮา แต่เป็นที่เข้าใจกันได้โดยผู้อ่านส่วนใหญ่
  5. เน้นเขียนมากกว่าลบ บทความในไร้สาระนุกรมไม่ว่ามันจะห่วยแตกยังไงก็ตาม หากมันถูกเขียนขึ้นมาแล้วโดยไม่ขัดกับหลักใดของไร้สาระนุกรม บทความนั้นจะถูกปกป้องโดยชาวไร้สาระนุกรมทันที ดังนั้นเมื่อใดก็ตามหากมีบุคคลใดเข้ามาลบ หรือทำให้บทความนั้นสั้นลง โดยไม่ได้แจ้งเหตุอันจำเป็นก่อน ชาวไร้สาระนุกรมจะเข้าไปคืนสภาพเดิมในทันที ดังนั้นหากคุณไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุอันสมควรได้ ก็จงเข้าไปแก้ให้ขำในระดับที่คุณยอมรับได้ก็เท่านั้นเอง (ดู นโยบายในการลบบทความ)

สรุปหลักของไร้สาระนุกรมง่าย ๆ สามารถดูได้ที่ ไร้สาระนุกรม:ห้าเสาหลัก

นโยบายอื่น ๆ


เพิ่มเติม

ข้อควรระวังที่ไม่ใช่นโยบายหลัก แต่ถ้าปฏิบัติตามได้ก็เป็นการดี แต่ถ้าละเลยก็ไม่ได้ก่อความเสียหายมากนัก คุณสามารถละเลยได้ ถ้ามันเป็นอุปสรรคในการเขียนบทความของคุณ (เช่น คุณไม่มีพจนานุกรม หรือคุณไม่มีความรู้ด้านหลักภาษาไทยในบางประการ เป็นต้น อย่างไรก็ตามคุณไม่ควรใช้ภาษาวิบัติในการเขียนบทความ)

นโยบายในไร้สาระนุกรม
ภาพรวม
อะไรที่ไม่ใช่ไร้สาระนุกรม
เงื่อนไขในการนับว่าเป็นไร้สาระนุกรม
มุมมองที่ไม่เป็นกลาง
ผลประโยชน์ทับซ้อน
ลิขสิทธิ์
การอ้างอิงแหล่งที่มา
กล้าเขียน
นโยบายการใช้ภาพ
มารยาท
แหล่งข้อมูลอื่น
คู่มือในการเขียน
การลบบทความ
อัตชีวประวัติ
การล้อเลียนสิ่งที่มีอยู่จริง
โครงการเพ่น้อง
  • ควรตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้องทุกครั้ง หากไม่แน่ใจให้เปิดพจนานุกรมใกล้มือ หรือดูได้ที่ เว็บพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ทั้งนี้ มีคำศัพท์บางคำที่ใช้เฉพาะในไร้สาระนุกรม ซึ่งสามารถดูได้ที่ ไร้พจนานุกรม:คำทับศัพท์/รายการ
  • ถ้าประโยคยาวเกินไป ให้ลองพยายามเว้นคำดูบ้าง นอกจากจะช่วยให้อ่านได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้แสดงผลในเว็บเบราว์เซอร์ได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนก็ช่วยได้ถ้าจำเป็น
  • พึงระลึกว่า บทความที่บันทึกไว้ คือบทความที่สามารถอ่านได้เข้าใจ รู้เรื่อง และมีใจความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง หากประสงค์จะเขียนบทความที่มีความยาวมาก อาจทยอยนำมาลงเป็นตอน ๆ โดยที่แต่ละตอนควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง สำหรับบทความแปล หากประสงค์ทยอยแปลก็ไม่ควรทิ้งภาษาต่างประเทศเอาไว้
  • หาก "มีความประสงค์" จะแก้ไขบทความจากวิกิพีเดียภาษาไทยหรือภาษาอื่น แต่ยังไม่มีเวลาแปลและปรับปรุงให้เฮฮา ไม่ควรจะคัดลอกบทความเหล่านั้นมาทิ้งไว้ ควรรอจนกว่าจะได้แปลจนจบอย่างน้อยสักช่วงหนึ่งหรือตอนหนึ่งก่อน แต่หากต้องการโหลดภาพมาลงไว้ ก็สามารถทำได้
  • ควรร่างบทความใน "กระบะทรายของผู้ใช้" หรือ "กระบะทรายรวม" หากบทความที่ต้องการเขียนยังมีเนื้อหาไม่มากพอ หรือต้องการเวลาในการรวบรวมข้อมูล
  • สามารถเข้าไปแก้ไขกระบะทรายของผู้อื่นได้ แต่ไม่ควรลบเนื้อหาหรือคัดลอกโค้ดไปสร้างเป็นบทความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของกระบะทราย
  • พึงระลึกว่าเนื้อหามีความสำคัญกว่ารูปแบบ ถ้าหากรูปแบบเป็นอุปสรรคต่อการเขียนเนื้อหา คุณสามารถละเลยรูปแบบได้
  • รูปแบบเชิงโครงสร้างสำคัญกว่าสิ่งที่มองเห็น
  • ไร้สาระนุกรมเป็นไร้สาระนุกรมที่มีการจัดระเบียบข้อมูล ทุกส่วนในบทความสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง