ไร้สาระนุกรม:คำถามพบบ่อย

จากไร้สาระนุกรม — ส่วนหนึ่งของโครงการไร้สาระนุกรมเสรี แหล่งรวบรวมเรื่องราวตลกขบขันและบิดเบือนข้อเท็จจริง
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

เริ่มต้น · สอนการใช้งาน · วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน · ความช่วยเหลือ · คำถามพบบ่อย · ถามคำถาม

คุณมีคำถามใช่ไหม ? ด้านล่างนี้เป็นคำถาม-คำตอบสำหรับไร้สาระนุกรมภาษาไทย ไร้สาระนุกรมภาษาอื่นอาจมีคำถามและคำตอบที่แตกต่างกันไป ถ้าคุณไม่เจอคำตอบของคำถามของคุณ ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ถ้าคุณเพิ่งรู้จักไร้สาระนุกรม ขอแนะนำให้อ่านหน้าเริ่มต้น เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเริ่มต้นใช้ไร้สาระนุกรม
  • ถ้าคุณยังไม่พบคำตอบ คุณอาจทิ้งคำถามไว้ที่ ไร้สาระนุกรม:เลขาชาวไร้สาระนุกรม ชาวไร้สาระนุกรมพร้อมที่จะตอบคำถามของคุณ หรืออาจทดลองใช้ไร้สาระนุกรมก่อนได้ ชาวไร้สาระนุกรมพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาและข้อผิดพลาดของคุณ เราอยากให้คุณมีส่วนร่วมในไร้สาระนุกรม ลองพิมพ์หัวข้อที่คุณต้องการค้นหาในช่องค้นหาด้านซ้าย แล้วกด ดู

คำถามพบบ่อย

ไร้สาระนุกรม คืออะไร ?

ไร้สาระนุกรม คือ สารานุกรมเสรี ที่ร่วมสร้างขึ้นโดยผู้อ่านหลายคนร่วมกันปรับปรุงไร้สาระนุกรมอย่างสม่ำเสมอ ระบบของไร้สาระนุกรมจะแตกต่างจากแหล่งข้อมูลอื่น ที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ ไม่เฉพาะเจ้าของเว็บไซต์ ไร้สาระนุกรมจะแตกต่างจากบล็อกและเว็บบอร์ดที่เรื่องทุกเรื่องถูกจัดเรียงตามชื่อหัวข้อนั้นในลักษณะสารานุกรม

จะช่วยแก้ไขไร้สาระนุกรมได้อย่างไร ?

อย่ากลัวที่จะแก้ไขบทความบนไร้สาระนุกรม สารานุกรมที่ใครก็สามารถช่วยเขียนได้ และยิ่งไปกว่านั้นเรายังสนับสนุนให้ผู้ใช้ กล้าหาญ! ลองอ่านดูว่ามีเนื้อหา การเขียน หรือการใช้ภาษา หรือการจัดรูปแบบ ในส่วนใดที่ท่านอาจแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้ จากนั้นก็แก้ไขแก้ได้ทันที โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ไร้สาระนุกรมเสียหาย เพราะทุกอย่างสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงได้เรื่อยๆ การแก้ไขบทความทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  • กดที่ แก้ไข ที่ตอนบนของหน้าบทความที่คุณต้องการแก้ไข โดยคุณสามารถทดลองได้ที่ กระบะทราย
  • กดปุ่ม บันทึก ที่ด้านล่างของหน้าเพื่อบันทึกการแก้ไขของคุณ หรือกดปุ่ม ดูตัวอย่าง เพื่อทดลองดูผลลัพธ์ของการแก้ไข

การแก้ไขหน้าทำอย่างไร ?

การแก้ไขหน้าสามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบยอดเงินในบัญชีของคุณเอง หากคุณมีเงินมากพอเราแนะนำให้เลือกแก้ไขหน้าที่ประเทศเกาหมี แต่หากเงินไม่ถึงคุณสามารถเลือกโรงพยาบาลยันหมี หรือคลีนิกเสริมความยามเลอลากได้ หรือคุณสามารถศึกษาการแก้ไขหน้าได้ที่ การแก้ไขหน้า

หน้าไหนที่แก้ไขไม่ได้บ้าง

ในไร้สาระนุกรม หน้าทุกหน้าสามารถแก้ไขได้โดยชาวไร้สาระนุกรมทุกคน ไม่ว่าหน้าสารานุกรมหน้าใด หน้านโยบาย หรือแม้แต่หน้านี้ แม้กระนั้นบางหน้าอาจจะถูกระงับการแก้ไขชั่วคราวถ้าหากมีการก่อกวนซ้ำ โดยหน้านั้นจะติดป้ายไว้ว่า "ห้ามแก้ไขสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ล็อกอิน" (ถ้าเป็นการกลั่นแกล้งต่อเนื่อง) หรือ "ห้ามแก้ไขสำหรับผู้ใช้ทุกคน" (ถ้าเป็นปัญหาทะเลาะสำหรับชาวไร้สาระนุกรมมากกว่าหนึ่งคน)

สำหรับ หน้าหลัก เนื่องจากเป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ ได้ถูกระงับการแก้ไขเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้ง แต่คุณสามารถแก้ไขได้ผ่านทางแม่แบบต่างๆ ที่ปรากฏในหน้านั้น หรือถ้าต้องการเสนอแนะเปลี่ยนรูปแบบหน้าหลัก สามารถทำได้ผ่านหน้าพูดคุยของหน้านั้น

นอกจากการเขียนบทความแล้ว จะช่วยอะไรได้อีกบ้าง ?

ดูบทความหลักที่ ไร้สาระนุกรม:คุณช่วยเราได้

ไร้สาระนุกรมมีหลายเรื่องที่ทุกคนสามารถช่วยกันทำได้ ตั้งแต่เรื่องง่ายสุด ช่วยกันอ่านช่วยตรวจสอบความถูกต้อง หรือแม้แต่เชื่อมโยงบทความเข้าด้วยกันโดยการ ใส่ลิงก์ จัดหมวดหมู่บทความ หรือแม้แต่งานบรรณาธิการ ตรวจแก้อักษร ตรวจความสวยงามของรูปประโยค และงานอื่นอีกมากมายที่ทุกคนสามารถช่วยกันได้ แต่ทางที่ดีคุณไม่ต้องช่วยอะไรเลยจะดีกว่า

แม่แบบ คืออะไร ?

แม่แบบ คือ รูปแบบที่เหมือนกันสำหรับบทความกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดู ไร้สาระนุกรม:แม่แบบ

โครง คืออะไร ?

ดูบทความหลักที่ ไร้สาระนุกรม:โครง

โครง คือ ชิ้นส่วนกระดูที่ตั้งอยู่ในบริเวณช่องอกหรือช่องท้องส่วนบน กระดูกซี่โครงเป็นกระดูกที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังซึ่งอยู่ด้านหลังและกระดูกอกที่อยู่ด้านหน้า มีลักษณะโค้งโอบรับกับลำตัวช่วงอก เรียกได้ว่ากระดูกซี่โครงเป็นตัวกำหนดรูปร่างลักษณะช่วงอกและหลังส่วนบนของมนุษย์นั่นเอง บทความที่ยังไม่สมบูรณ์ หรืออาจต้องมีการตรวจสอบเนื้อหา คุณสามารถช่วยแก้ไขและเพิ่มเติมบทความนี้ให้สมบูรณ์ได้ หากต้องการประกาศว่าหน้าที่คุณเขียนอยู่เป็นโครง เพียงแค่ใส่ {{โครง}} ลงไปในบทความนั้น

การแก้ความกำกวม คืออะไร ?

การแก้ความกำกวม คือ บทความที่ชื่อบทความมีความกำกวม นั่นคือ

ทำอย่างไร ไม่ให้คนอื่นมาแก้เรื่องที่เราเขียน

เนื่องจากระบบของไร้สาระนุกรมสนับสนุนให้ทุกคนช่วยกันเขียน เพื่อพัฒนาเนื้อหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในมุมมองของทุกคน ดังนั้นกรุณาอย่าส่งงานเข้ามาในไร้สาระนุกรมหากไม่ต้องการให้ถูกแก้ไข อย่างไรก็ตามถ้าบทความมีการแก้ไขกลับไปกลับมาหลายรอบ ทางผู้ดูแลระบบอาจจะล็อกหน้านั้นไว้ เพื่อเจรจาแนวทาง ก่อนที่จะเริ่มแก้ไขต่อไป

ทำไม ข้อความที่พิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ แต่เมื่อบันทึกแล้ว ไม่ยอมขึ้นบรรทัดใหม่ให้

หากต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ ให้เว้นสองบรรทัด หรือกด enter สองครั้ง และพิมพ์ชิดขอบซ้ายเสมอ ลองดูได้ที่ ไร้สาระนุกรม:วิธีการแก้ไขหน้าพื้นฐาน

ทำไม ภาพบางภาพมีขนาดเล็ก

ภาพหลายภาพในไร้สาระนุกรม ได้แสดงผลตามการตั้งค่าของผู้ใช้แต่ละคน โดยขนาดย่อปกติ จะถูกตั้งอยู่ที่ความกว้าง 200 พิกเซล ซึ่งเหมาะสำหรับบุคคลที่ใช้จอคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก แต่ถ้าคุณต้องการให้ภาพใหญ่ขึ้นตามความต้องการ สามารถทำได้โดยเลือก "ตั้งค่าผู้ใช้" (จากเมนูด้านขวาบน) และตั้งขนาดตามความต้องการ

ทำไมไม่ลอกจากเว็บอื่นมา ไม่ง่ายกว่า ที่ต้องมานั่งเสียเวลาทำ

การลอกคนอื่น ก็เหมือนไม่เคารพผลงานที่คนริเริ่มนั้น ลองคิดในทางกลับกันว่าถ้าเราเป็นคนเขียนบนเว็บ และมีคนลอกงานของเราไปใช้ ตัวเราเองก็จะไม่ชอบใจเช่นกัน ถ้าเจอผลงานที่ดี เราน่าจะนำมาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะสารานุกรม และทำลิงก์ไปหาบทความต้นฉบับ แทนที่เราจะลอกผลงานเขา ถือเป็นการให้เกียรติเจ้าของบทความ ลองดูเพิ่มได้ที่ ไร้สาระนุกรม:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ใครเป็นเจ้าของไร้สาระนุกรม และ ลิขสิทธิ์ผลงานเป็นของใคร

ไร้สาระนุกรมเป็นเจ้าของโครงการ เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร จัดตั้งโครงการไร้สาระนุกรม และโครงการพี่น้องอื่นๆ โดยผลงานทุกอย่างโดยคนเขียนทุกคนของไร้สาระนุกรม จะมีสัญญาอนุญาต (ให้ใช้สิทธิในผลงานอันมีลิขสิทธิ์) ภายใต้รูปแบบ GFDL ซึ่งหมายถึงว่าใครสามารถนำไปใช้ก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า คนที่เอาไปใช้ต้องให้สิทธิภายใต้ GFDL ต่อคนอื่นๆต่อไป ซึ่งทำให้คนที่ใช้ต่อไป ต้องแบ่งปันให้คนอื่นต่อๆ ไป ซึ่งสัญญาอนุญาตรูปแบบนี้จะทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลอย่างสมบูรณ์ โดยอาจกล่าวได้ว่าทุกคนจะได้รับสิทธิภายใต้ GFDL โดยเท่าเทียมกัน.

ทั้งนี้ ลิขสิทธิ์ต่างๆ ของผลงานในไร้สาระนุกรม (เฉพาะในส่วนที่ผู้เขียนได้สร้างสรรค์ขึ้นด้วยตนเอง) ยังคงตกเป็นของผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียว ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์. การประกาศให้ใช้สัญญาอนุญาต GFDL นี้, จะไม่มีผลทำให้ ผู้สร้างสรรค์สูญเสียความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานของตนเองแต่อย่างใด, โดย เจ้าของผลงาน จะยังคงมีสิทธิที่จะนำงานในส่วนของตนไปเผยแพร่ ภายใต้สัญญาอนุญาต แบบอื่นๆ ในรูปแบบใดก็ได้ เท่าที่ กฎหมายรับรอง. การประกาศสัญญาอนุญาต GFDL นี้, เป็นเพียงการที่เจ้าของผลงาน อนุญาต ให้ผู้อื่น ใช้สอย/ดัดแปลงแก้ไข/เผยแพร่ ผลงานนี้ได้ ภายใต้เงื่อนไขของ GFDL เท่านั้น (ทั้งนี้ เจ้าของผลงาน ไม่สามารถที่จะเรียกคืนหรือ ยกเลิก สัญญาอนุญาต GFDL ในผลงานที่ประกาศออกไปแล้วได้).

ถามคำถาม

ถามคำถามเกี่ยวกับการใช้ไร้สาระนุกรมได้ที่หน้า ไร้สาระนุกรม:เลขาชาวไร้สาระนุกรม