โรคพิกุลคุณป้า

จากไร้สาระนุกรม — ส่วนหนึ่งของโครงการไร้สาระนุกรมเสรี แหล่งรวบรวมเรื่องราวตลกขบขันและบิดเบือนข้อเท็จจริง
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
Wikisplode.gif
สำหรับผู้ที่ไร้อารมณ์ขันสิ้นดี เหล่าผู้เชี่ยวชาญที่วิกิพีเดียมีบทความที่โคตรมีสาระ ที่นี่!

โรคพิกุลคุณป้า เป็นโรคที่เกิดจากการปลูกต้นพิกุลไว้ในบ้าน เนื่องจากคนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นพิกุลทองไว้ประจำบ้านจะทำให้มีอายุยืน ดังนั้นการปลูกต้นพิกุลไว้ในบ้าน จะทำให้คุณเป็นป้าได้

โรคพิกุลคุณป้า เป็นเชื้อไวรัสที่มีเกสรดอกไม้เป็นพาหะนำโรค ซึ่งติดต่อมาสู่มนุษย์ทางเกสรดอกพิกุล การระบาดของพิกุลคุณป้า ทำให้เกิดการแก่ก่อนวัยอันควรอย่างรุนแรงและทำให้เกิดความแก่แดดและท่าทางลักษณะคล้ายคุณป้า โดยผู้ป่วยจะมีอาการแก่แดด 2-5 วัน ตามด้วยอาการขี้บ่นเป็นระยะเวลานาน เป็นเวลาหลายนาทีหรือเป็นชั่วโมง

ต้นกำเนิดของโรคพิกุลคุณป้ามาจากกรุงอโยธยา โดยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2195 โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยในประเทศไทยได้ค้นพบว่าอาการดังกล่าวเกิดจากโรคพิกุลคุณป้าครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501

อาการและอาการแสดงของโรค[แก้ไข]

การติดเชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวของเชื้อ 2-4 วัน ทำให้มีอาการแก่แดดขึ้น 20 ปี และมีรอยย่นหรือรอยเหี่ยว ในบริเวณใบหน้าและอาจเกิดในบริเวณแขนและขาด้วย และมีอาการปวดเมื่อยตามลำตัว อาการอื่นๆอาจรวมการขี้บ่น โดยปกติรอยเหี่ยวย่นจะมีอยู่ประมาณ 2 วัน และหายโดยทันที อาการอื่นๆ เช่น การแก่แดด, การปวดเมื่อย, นอนหลับแต่หัวค่ำตื่นแต่เช้ามืด, ขี้บ่น, ใช้สำนวนคนแก่ ฯลฯ จะเป็นอยู่นานกว่าอาการเหี่ยวย่น คือตั้งแต่ 5-7 วัน ทั้งนี้อาการปวดข้อของผู้ป่วยยังขึ้นกับอายุของผู้ป่วยด้วย

การวินิจฉัยโรค[แก้ไข]

วินิจฉัยได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากบางคนอาจจะแก่แดดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว โดยวิธีการสังเกตที่ง่ายที่สุดนอกจากการตรวจเลือดคือสังเกตว่า มีพฤติกรรมกลายเป็นคุณป้าอย่างกระทันหันหรือไม่ และในช่วงต้นของการเปลี่ยนแปลงมีรอยเหี่ยวย่นอยู่หรือเปล่า

การป้องกันโรค[แก้ไข]

วิธีในการป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ต้นพิกุลที่ติดเชื้อ และพยายามหัดแรด หัดกระแดะตอแหลแอ๊บแบ๊วเป็นติ่งหูเข้าไว้ โดยอย่าทำท่าทีสงวนเนื้อสงวนตัว เก็บเนื้อเก็บตัวตามสำนวน กลัวดอกพิกุลจะร่วง ให้มากเกินไปนัก อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าอาการของคนติดโรคนั้นยังดีกว่าอาการของคนที่ไม่ได้เป็นมากนัก

การรักษา[แก้ไข]

สำหรับวิธีรักษานั้นเชื่อว่าการตบเกรียนสามารถช่วยรักษาได้ แต่ทยังไม่มีการทดลองทำอย่างเป็นทาง

นอกจากนี้ยังไม่มีวัคซีนสำหรับเชื้อพิกุลคุณป้าโดยเฉพาะ โดยจากการทดลองพบว่าเชื้อจะเกิดการต้านทานต่อวัคซีน

ผู้มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้[แก้ไข]