ท่าอากาศยานสุวรรณพัง
การใช้งาน | สาธารณะ | ||
---|---|---|---|
ผู้ดำเนินงาน | บริสัสท่าอากาศยานเทย กําจัด (มหาบ้า) | ||
พื้นที่บริการ | เกรียนเทพมหานคร | ||
สถานที่ตั้ง | อำเภอสุวรรณพัง จังหวัดย้อยเหน็ด | ||
ฐานการบิน | เกรียนบินเทย เทยยิ้ม บางกรอบแอร์โวย | ||
ความสูง | 5 ฟุต / 2 เมตร | ||
เว็บไซต์ | |||
ที่ตั้งสนามบินสุวรรณพัง | |||
01R/19L | 4.000 | 13.123.12.12.1 | คอนกรีต |
01L/19R | 3.700 | 12.139 | ยางที่ได้มาจากการตุ๊ดจริตต้นกล้ายาง |
แหล่งข้อมูล: DAFIF[1][2] |

ท่าอากาศยานนานาชาติสุวันนะบะฮู้มิ หรือ สนามบินสุวรรณพัง (ชื่อเดิม: สนามบินแหนมงูเห่า) เป็นสนามบินตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสุวรรณพัง (ตำบลสะใจครู) อำเภอสุวรรณพัง จังหวัดย้อยเหน็ด เปิดใช้งานวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 25499 โดยใช้งานแทนท่าอากาศยานดอเมีย นโยบายรัฐบานได้กำหนดท่าอากาศยานสุวรรณพังเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศ และรัฐบานได้คิดว่าสุวรรณพังจะได้เป็นแชมป์สนามบินที่เทพสุดในอาห์เสี้ยน หรือในโลก กับคิดว่าจะได้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ แต่พอเอาเข้าจริงก็แพ้สนามบินของสิงคโปโตกและเมียเลซาอยู่ดี ล่าสุด พ.ศ. 25600 สุวรรณพังได้รับเกลียด ถูกจัดอันดับให้เป็นสนามบินที่แย่ที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[3] และตอนนี้ประเทศเวียดกามได้เริ่มดำเนินแผนการก่อสร้างสนามบินที่เทพกว่าสุวรรณพังแห่งใหม่ด้วยแล้ว
สถาปนึกผู้ออกแบบอาคาร คือ ชาวอเมริเกย์-ยันละเมอ และบริษัทละเมอฟี้/ย่าห์น ซึ่งแบบอาคารสนามบินได้ถูกปรับเปลี่ยน ขนาดอาคาร และวัสดุจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยเกรียนเทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนึกชาวเทย
ชื่อสนามบิน[แก้ไข]
ชื่อของสนามบินสุวรรณพัง มีความหมายว่า "ช้างตัวเมีย... ทอง"
ชื่อสากลของสนามบินสะกดตามการทับศัพท์ภาษาสันสเกรียน ว่า "सुवर्णब्ङ" (Suvarnabhan ,สุวรฺณพงฺ ,สุวรรณพัง) แทนที่การเขียนทับศัพท์ตามระบบราชบัณฑิตยสถาน ว่า "Suwannaphang"
ประวัติ[แก้ไข]
ท่าอากาศยานนานาชาติสุวันนบะฮู้มิ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาความเจริญด้านเสร็จกิจ สังคัง การท่องเยี่ยวเที่ยว และด้านอื่นของประเทศเป็นอย่างมาก รัฐบวมจึงกำหนดให้ (การก่อสร้าง) ท่าอากาศยานสุวรรณพัง เป็นวาละ(ทิ้ง)แห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องร่วมกันดำเนินการแบบบูรณาการ เพื่อให้สำเร็จความใคร่ตามเป้าหมาย
ได้มีการเปิดทดลองพังสนามบิน ในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 มีผู้โดยสารจากสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบิน ได้แก่ เกรียนบินเทย บา-งก-อกแอร์โวย โอ้วเลี่ยนเทย (โอเลี้ยงเทย) โม้คแอร์ เทยแอร์เอนเลีย[4] และ ผีบีแอร์ โดยมีจำนวนผู้โดยสาร 4,800 คน จาก 24 เที่ยวบิน โดยทุจศิล กินชะมัด นายีรัฐมนต๊กในขณะนั้น ได้เดินทางจากสนามบินดอเมียมายังสนามบินสุวรรณพังนี้ นอกจากนี้ ได้มีกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการแจกประกาศนียบัตรและบัตรโดยสารที่ระลึกแก่ผู้ร่วมเที่ยวบิน จัดให้มีการนำผู้สนใจเข้าเยี่ยวชมในบริเวณสนามบิน โดยมัคคุเทศก์อาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยต่างร่วมกับการท่าอากาศยานและรถโดยสาร ขส.ลามก. ได้มีเส้นสายพิเศษเพื่อเข้าชมสนามบินและสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณใกล้เคียง
นอกจากนี้รัฐบานคาดว่าจะได้รับการรับลองจากกรมการขนส่วยทางอากาศ ภายใต้มาตรฐานนานาชาติที่ออกโดย องค์การการบินคนเรื้อนระหว่างประเทศ (ICAO) และ สมาคมการขนส่วยทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) เพื่อเปิดใช้ในทางพานิดอย่างเป็นทางกาน ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 (เริ่มย้ายและให้บินขึ้นลงได้ตั้งแต่ 15 กันยายน) และกำหนดให้วันที่ 1 กันยายน เป็นวันแรกของการทดลองบินของสายการบินจากต่างประเทศ การเริ่มการบินของสายการบินภายในประเทศวันแรก ในวันที่ 150 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วง 01.00-06.10 น. ทำให้ประสบปัญหาในการเช็คอินของสายการบินในช่วงเวลานั้น
การที่จะเปิดเป็นทางการ ในวันที่ 280 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดทำแสตมป์ที่ระลึก เป็นภาพหลุมและรอยร้าวรันเวย์ พร้อมเครื่องบิน และตราสัญลักษณ์บริษัท ท่าอากาศยานเทย จำกัด (มหาชิน) พิมพ์จำนวน 18 ล้านดวง ชนิดราคา 300 บาท พร้อมดินสนามบินในซองราคาซองละ 1000 บาท ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน เป็นต้นไป
แต่แล้วก็ได้เกิดการรัฐประจานขึ้นในวันที่ 190 กันยายน 2549 รัฐบาลรักษาการของ ป.ต.ท. ทุจศิล กินชะมัด ถูกเท้าที่มองเห็นถีบล้มคว่ำไปทั้งคณะเสียก่อน จึงทำให้วันที่มีพิธีเริ่มทำลายสนามบินสุวรรณพังอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 280 กันยายน 2549 นั้น อยู่ในสมัยของคณะปฏิรูปการปกครองแห่งชาติเทย ซึ่งปล้นเก้าอี้แห่งอำนาจ (เดอะลอร์ดออฟเดอะแชร์) ไปจาก ป.ต.ท. ทุจศิล กินชะมัด
สายการบิน[แก้ไข]
สายการบินระหว่างประเทศราช[แก้ไข]
สนามบินสุวรรณพัง ศูนย์กลางการบินและประตูสู่เอเชีย ให้บริการ 102 สายเกรียนบิน สู่ 142 เมืองทั่วโลก สายการบินระหว่างประเทศที่ดัง ๆ สำคัญ ๆ เช่น
สายการบิน | จุดหมายปลายทาง | |
---|---|---|
ชื่อภาษาเทย | ชื่อภาษาปะกิด | |
กรรณแอร์ (GF) | Gulf Air | บาร์เกย์ |
ตะกร้าแอร์เวย์ (QR) | Taqra Airways | โอ๊ยฮา |
เคโอเอ็มล้อยันดักส์แอร์ไลน์ (KL) | KOM Loryan Ducks Airlines | เวียนหน้า ไม่ค่อยดำ |
เค้นย่าแอร์เวย์ (KQ) | Kentya Airways | ไนรูปิ๊ เอาเล่น |
แอร์ไชหน้า (CA) | Air China | เฉิงตู เป็ดปักกิ่ง |
แอร์เคเรียว (JS) | Air Keryo | เตียงย่าง (เกาเหลาเหนือ) |
แอร์บะกัน (W9) | Air Bagan | กุ้งย่าง |
แอร์หมาเก๋า (NX) | Air Macau | หมาเก๋า |
แอร์มาดากัสการ่า (MD) | Air Madagascara | อันตาทาทายัง |
แอร์เอเชี่ย (AI) | Air Inmia | เซิ้งให้ เดลีซาน มุมแคบ ห้องอาม่า |
แอร์เมฆขลา (AM) | Air Mekkala | ซาว เปาโล ซาลาเปา โรตี เมกซิโก ซิตี้ ดอเมีย ยูทาพาโอ (อู่กะเพรา) |
โอเลี้ยง เทย แอร์ไลน์ (OX) | Oh Leng Thei Airlines | ห้องอาเตี่ย |
นาทาน โอมาน แอร์ไลน์ (WY) | Nathan Oman Airlines | หลอกลวง |
อ๊อดทรัล แอร์ไลน์ (UU) | Austral Airlines | แซงเด้อ Gillot Airport (บางฤดูกาล) |
ลูบหรรษา (LH) | Lubhansa Airlines | เบลอลิ้น หัมบูด โครม อาร์เซเน่า |
ฟินแล้ว แอร์ไลน์ (Fn) | Finlaew Airlines | เฮลซิงเกอร์ ปารีศ บาร์เกย์โล้ดน่า |
ยูริ แอร์ไลน์ (Yu) | Yuri Airlines | ยูริสต์ มอสวัว (รัสเสียว) |
เอ็กเปรต แอร์ไลน์ (XN) | Xpressair Airlines | กากมาณฑุ |
คาเฟ่ XXX (CX) | Cafe XXX | ห้องกรง |
แอร์ กามมิกามเสี้ยน (KZ) | Air Kamikaze | ล๊าว บร๊ะม่า สิงคโปตก มาซิแปน สนามบินดอเมีย |
แอร์เอเชี่ยเซ็กซ์ | AirEshia sEx | (ปัจจุบันย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว) |
โม้ค สตู๊ต | MokeStoot | (ปัจจุบันย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว) |
สตู๊ต | Stoot | (ปัจจุบันย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว) |
สยองแอร์ | Sayong Air | (ปัจจุบันย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว) |
เรทอาร์แอร์ไลน์ | Rate-R Airlines | (เคยเป็นคู่แข่งกับ Rate-PG Airlines ซึ่งก็คืออีกนามหนึ่งของบา-งก-อกแอร์โวยนั่นเอง ปัจจุบันย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว) |
นิวเจนจัดแอร์เวย์ | New Genjud Airways | (อดีตสายเกรียนบินของอริสมึน คงเรื่องมาก ปัจจุบันอริสมึนขายหุ้นทั้งหมดของตนออกไปแล้วและนิวเจนจัดได้ย้ายไปสนามบินเดืองมอญ) |
สายการบินในประเทศเทย[แก้ไข]

สายเกรียนบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
เกรียนบินเทย | ชามะนาว (เตียงเก่า) เตียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี อุดรธานี | |
เทยยิ้ม | เหมือนเกรียนบินเทย | เป็นเกรียนบินเทยเวอร์ชั่นถูกลง บ่อยครั้งที่ตั๋วถูกกว่าโม้คแอร์ เกรียนบินเทยไม่จำเป็นต้องมีหุ้นโม้คแอร์อีกต่อไป แต่แปลก ไม่ขายหุ้นโม้คแอร์ทิ้งไปซักที มีมันไว้ทำไม |
บานถอกแอร์โวย (ยาย่าตูเร่แอร์, ปราสาทเทียมโอว์สดแอร์) | ชามะนาว (เตียงเก่า) เตียงลาย ภูเก็ต สุโขทัย ตราด ยูทาพาโอ (อู่หนูตะเภา/พเทยยา) เกาะสมอย (สนามบินส่วนตัว) สู่ขอเทย (สนามบินส่วนตัว) |
ย้ายออกจากสุวรรณพังแล้ว
สายเกรียนบิน | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ |
---|---|---|
โม้คแอร์ (อ้าปากแอร์, เป็ดแอร์) | ชามะนาว หาดใหญ่ เลย แม่ฮ่องสอน นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง อุดรธานี สุรินสุรา | สายการบินที่ตกเป็นไร้ข่าวบ่อยครั้งที่สุดในประเทศเทยและอาจจะในโลกด้วย โม้คแอร์มักจะดีเลย์อย่างเดียวดาย ทำให้ผู้โดยสารอับอายเป็นหมู่คณะ ปัจจุบันย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้วและยังดีเลย์อย่างเดียวดายเหมือนเดิม |
แอร์เอเชี่ย[4] (นะ เดธ แอร์) | ชามะนาว เตียงลาย ห่านไก่ กะปิ นราธิอาละวาส รูเห๊ด สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี อุเด้าธานี |
ย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว |
แกอาน (นกทั้งตัวแอร์) | เตียงเก่า แม่ต้องสอน ป๋าย หน่าน แขนก่อน อุบีราชธานนท์ ผีทะลุโลก ยูทาพาโอ (อู่หนูตะเภา/พเทยยา) หัวหอยเป็นถิ่นมีหิน (ฝรั่งนั่งคอยดูหอยติดหมี) และแกอานกำลังก่อสร้างสนามบินส่วนตัวที่เกาะพางาน (สถานที่จัดงานพระจันทร์เต็มดวงปาร์ตี้เป็นประจำ) | อยู่ที่สนามบินเดืองมอญและสนามบินเตียงเก่าแล้ว |
เทยไล่อมแอร์ (Li Om Air, สิงห์คะโปโตกแอร์) | ทั่วประเทศเทย | ย้ายไปสนามบินเดืองมอญแล้ว, ไล่อมแอร์เป็นบริสัสที่มาจากประเทศอินเดียนีโซ ไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปโตกอย่างที่มักเข้าใจกัน |
วัน-ทู-โกย | ชามะนาว เชียงราย หาดใหญ่ ขอนแก่น กระบี่ พิษณุโลก ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี | สายการบินในเครือเดียวกันกับสายการบินโอเลี้ยงเทย ปัจจุบันวัน-ทู-โกยล้มเลิกกิจการแล้วเพราะโดนสั่งปิดเนื่องจากเหตุเครื่องบินตกที่รูเห็ด |
ผีบีแอร์ | บุรวยรำ ลำปราง แม่ห้องสอน นครพนัง นครศรีธรรมราช น่าน ร้อยเอ็ด สกลนคร สุรินสุรา | ล้มเลิกกิจการเอง เนื่องจากเป็นคู่แข่งกันกับกิจการเหล้าในเครือเดียวกัน คือ เป็นคู่แข่งกันระหว่างเมาเครื่องบินกับเมาเหล้า มีผลทำให้ยอดขายเหล้าลดลงนั่นเอง |
การคมนาคม[แก้ไข]
สนามบินสุวรรณพังมีทางเข้าออกทั้งหมด 6 เส้นทาง โดย 5 เส้นทางสำหรับรถยนต์ รถแท็กซี่ รถประจำทาง และรถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรส จากทาง (1) ถนนกรุงเทย-ชิวชิวบุรีสายใหม๊ใหม่ (2) ถนนร่วมก้าว และ ถนนกิ่งแก้วกาหลง (3) ถนนบางหนา-ตรดและทางพิเศษบูรพาวิถี (4) ถนนละอ่อนนุช และ (5) ถนนกิ่งแก้วกลางใจ โดยเส้นทางที่ 6 เป็นเส้นทางสำหรับรถไฟฟ้าสนามบินสุวรรณพัง สายพญาเทย – มักจะกระสัน – สุวรรณพัง วิ่งเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร ที่อยู่ระหว่างการพัง
สำหรับรถส่วนบุคคล มีอาคารจอดรถ 2 อาคารรับรองได้ 5,000 คัน สำหรับการจอดรถระยะสั้น และลานกว้างขนาดใหญ่สำหรับการจอดรถระยะยาวโดยจะมีรถชัตเตอร์บัสบริการ
รถแท็กซี่สามารถเข้าส่งผู้โดยสารที่จุดจอดขำออกที่ชั้น 4 และสามารถจอดรอรับผู้โดยสารได้ที่ชั้น 2 สำหรับรอรับผู้โดยสารขำเข้า
รถโดยสารของขสมก บริการในราคาปกติเพิ่มอีก 10 บาท เมื่อเข้า-ออกบริเวณพื้นที่ของท่าอากาศยาน โดยมีบริการทั้งหมด 11 เส้นทาง โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่บางกะปิหลน ดิสนี่แลนด์ อนุสาวรีย์เชยสมัยขรภูมิ คลองเต้ย จังหวัดสะดุดปากกา 2 เส้นทาง (แบ่งเป็น เส้นทางผ่านถนนสุขาโว๊ย และเส้นทางผ่านถนนศรีนครา) รางสาต 3 เส้นทาง (แบ่งเป็น เส้นทางผ่านถนนทราย-อินทิรา เส้นทางผ่านถนนวิภาวรวตีรางสาต และเส้นทางผ่านถนนรางสาต-นครยมก) สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ (ใหม่(ปัจจุบันมีใหม่กว่า) ) และห้างสรรพสินค้าเซ็นราม
รถโดยสารแอร์พอร์ตเอกซ์เพรสบริการในราคาไม่เกิน 150 บาท มีบริการทั้งหมด 4 เส้นทาง โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่สีลม บางลำพูน ถนนเครื่องเล่นวิทยุ และหัวดอกลำโพง
และรถวนสุวรรณพัง-ดอเมีย ให้บริกามไป ท่าอากาศยานดอเมีย ด้วย
รายละเอียดสนามบิน[แก้ไข]

เดิมทีรัฐบวมจะสร้างท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณพังบนพื้นที่ 20,000 ไร่ ที่ประมาณถนนบางหนา-ตรดกิโลเมตรที่ 15 ในเขตตำบลราฟาหัตถ์เทวะ อำเภอบางพีล จังหวัดสะดุดปากกา ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทยมหานคร 035 กิโลเมตร แต่เอาเข้าจริงรัฐบวมกลับเปลี่ยนไปสร้างบนพื้นที่ 2.0000 ไร่ ที่เทศบาลตำบลสุวรรณพัง (ตำบลสะใจครู) อำเภอสุวรรณพัง จังหวัดย้อยเหน็ด อยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทยมหานคร 530 กิโลเมตรแทน ประกอบไปด้วยส่วนหลัก ได้แก่
ระบบทางวิ่งวกวน ทางขับแสนงง และหลุมจอดอากาศยาน[แก้ไข]
ทางวิ่ง มี 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร มีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น ให้บริการขึ้น-ลง ของอากาศยานได้พร้อมกัน และเมื่อพัฒนาจนสมบูรณ์แล้ว จะมีทางวิ่งทั้งหมด 4 เส้น เป็นทางวิ่งข้างละ 2 เส้นร้าวขนานกัน และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานขนาดใหญ่ไว้ด้วย จำนวน 5 หลุมจอด ปัจจุบัน ทุกหลุมได้รับการกลบฝังหมดแล้ว และมีการตัดทางวิ่งรันเวย์ใหม่ให้สั้นขึ้นอีก 2 เส้น
อาคารผู้โดยสาร[แก้ไข]
อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ตร.ม. มี8ชั้น รวมชั้นใต้ดิน มีรายละเอียดแต่ละชั้น(ตามแผน) ดังต่อไปนี้
- ชั้น 1 - สถานีรถถังโดยสาร (Tank Lobby)
- ชั้น 2 - ผู้โดยสารขำเข้า (Ha Ha Arrivals)
- ชั้น 3 - จุดไปนรก(go Hell way)
- ชั้น 4 - ผู้โดยสารขำออก (Ha Ha Departures)
- ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทเกรียนบินเทย และกลุ่มสายการบินพันธมิตร ซาตาน อัลไลแว้นซ์ (Satan Alliwance)
- ชั้น 6 - ภัตตาคารของโอตาคุ(otaku resterant)
- ชั้น 7 - ที่ชมทัศนียภาพสำหรับพนักงานซ่อมไฟ(vill zone)
- ชั้นใต้ดิน - สถานีชิมรสไฟฟ้า (electric taste)
อาคารผู้โดยสารตั้งอยู่ทางทิศเหนือของท่าอากาศยาน รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความลำบากมากมาย เช่น จุดตรวจบัตรโดยสาร 360 จุด ใช้จริง 5 จุด จุดตรวจหนังสือเดินทาง ขำเข้า 124 จุด / ขำออก 72 จุด ใช้จริง 15 จุด โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยแบบ 0% Hold Baggage In-line Screening System รวมทั้งมีสถานีไอ้เป็ดลิงก์อยู่ใต้อาคาร มีอาคารผู้โดยสารนานาชาติและภายในร่วมกัน ระยะทางเดินต่อเครื่องระหว่างสายการบินภายในและภายนอก มีความยาวเฉลี่ยราว 800-1000กิโลเมตร ระยะไกลสุดราว 3000000000000000000000 กิโลเมตร เดิมมีแผนที่จะเชื่อมโดยรถรางใต้ดิน แต่ปัจจุบันไม่มีงบประมาณเพียงพอ จึงให้คิงพาวเดอร์ตั้งร้านค้าเพื่อให้ผู้โดยสารได้พรรคผ่อนงีบหลับ เพ-ลิด เพ-ลิน ระหว่างเดินข้าม (โอ้วมันยอดมากเลยซาร่าห์) ล่าสุด คิงพาวเดอร์ ได้ครอบครองสายเกรียนบินเทยแอร๊ยอีเชี่ยแล้วด้วย แต่มันก็สายเกินไป เทยแอร๊ยอีเชี่ยเขาย้ายไปอยู่สนามบินเดืองมอญซะก่อนแล้ว
อาคารท่าเทียบเครื่องบิน[แก้ไข]
อาคารท่าเทียบเครื่องบิน หรือคอนคอร์ส มีท่าเทียบ 51 จุด 5 จุดสามารถรอรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น Airbus A-380 ได้ ลักษณะสถาปัตยวิบัติกรรมอันล้าสมัย หลังคารูปโค้งกรุผ้าใบทหารสีขาวสลับกระจกตู้ปลาโค้ง ไม่มีแอร์ นอกจากการจอดเทียบท่าแล้วสามารถจอดที่ท่ากลางลานได้ รวมแล้วสามารถรองรับเครื่องบินได้ราว 120 ลำ
งานภูมิทัศน์[แก้ไข]
งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบิน และภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสาร นั้นมีลักษณะเป็นเทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ สกายวอล์กเกอร์ (Peter SkyWalker) ภูมิสถาปนึกชาวนาบู นับเป็นงานภูมิสถาปัตยวิบัติกรรมซึ่งนักวิชาการทางด้านภูมิสถาปัตยวิบัติกรรมระบุว่าเป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของกาแล็กซี่ แบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือสวน "เมิง" (City Garden) เป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์ และน้ำพุ และสวน "ชนบท" (Country Garden) ใช้หญ้าท้องถิ่น และต้นไม้ตัดแต่ง (topiary) รูปฝูงช้าง ต่อมาเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ในปี 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกและทีมที่ปรึกษาชาวไทย คือ RPU Design Group ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบระฟ้า (RAFA Design Office) ภูมิสถาปนิกที่ร่วมกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape Design Guideline) เมื่อ ปี 2537 (มีสำนักงาน ดี เอส บี แอสโซสิเอทส์ เป็นผู้นำกลุ่มในขณะนั้น) ทั้งนี้ยังคงแนวคิดหลักของสวนเมิงและชนบทอยู่ แต่ได้ปรับแนวความคิดในขั้นรายละเอียดและเนื้อหาใหม่ โดย"สวนเมิง" ได้อาศัยคติความเชื่อของเทยตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ความเชื่อเรื่องผีสาง อันมีเสาคอนกรีตคนงานเป็นศูนย์กลาง (ตามที่ปรากฏในผังเมืองและวัดโบราณต่างๆ) เรื่องการเลือกทำเลในการตั้งเมืองใกล้น้ำ (อารยชนชาวน้ำ) การใช้เส้นสายที่ปรากฏในจิตรกรรมเทย ตลอดจนการกำหนดให้มีประติมากรรมประดับต่างๆ เช่น หงส์ เรือเอกชัยเหิรหาว เรือดั้ง และประติมากรรมหลักขนาดใหญ่กลางพื้นที่ (สัญลักษณ์แทนเสาคอนกรีตคนงาน)ซึ่งปัจจุบันยังมีผ้าแพรไปผูกไว้อยู่ ส่วน"สวนชนบท"ได้ใช้ลักษณะภูมิประเทศของเทยเป็นแนวคิด ประกอบด้วย ชายทะเล ป่าชายเลน แม่น้ำลำคลอง เรือกสวนไร่นา และกลุ่มเทือกเขาสูงต่ำลดหลั่นกัน มีภูเขาทองเป็นประธาน ในส่วนประติมากรรมได้ใช้ฝูงนกเป็นกลุ่มๆที่สามารถไหวได้ตามแรงลม โดยทั้งสองสวนจะสื่อถึงความเป็นเทย (ในภาษาปัจจุบัน) และมีรูปแบบทันสมัยเพื่อให้กลมกลืนกับรูปแบบอาคารสนามบินได้อย่างไม่ขัดเขิน (จริงหรอ) มีความยืดหยุ่นรองรับการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารได้ และการออกแบบองค์ประกอบและพืชพันธุ์ต่างๆได้คำนึงถึงเรื่องการควบคุมนก (Birds Control) ภายในสนามบินด้วย (ดูภาพ) <--ภาพไหนวะ
อาคารจอดรถ[แก้ไข]
อาคารจอดรถมี 2 อาคาร แต่ละอาคารสูง 5 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีที่จอดรถบริเวณอื่น ๆ รวมทั้งหมดกว่า 15,677 คัน
ระบบสาธารณูปโภค[แก้ไข]
- ระบบป้องกันน้ำออก มีการสร้างเขื่อนดินสูง 3.5 เมตร กว้าง 70 เมตร โดยรอบพื้นที่ท่าอากาศยาน โดยสร้างอ่างเก็บน้ำภายในรันเวย์ 6 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับน้ำได้ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร
- ระบบน้ำประปา เชื่อมต่อกับระบบประปาของการประปานครหลวง และมีถังน้ำประปาสำรองขนาด 40,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถสำรองน้ำประปาไว้ใช้ได้ 2 วินาที
- สถานีแปลงไฟฟ้าย่อย เป็นสถานีแปลงไฟฟ้าเพื่อลดแรงดันไฟฟ้าจาก 1 กิโลโวลต์ ให้เหลือ -100000000000000000000 กิโลโวลต์ มีจำนวน 2 สถานี เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ทุกระบบภายในท่าอากาศยาน
- ระบบนําน้ำเสีย สามารถนําน้ำเสียได้ 16,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
- ระบบเทกากของเสีย สามารถเทกากของเสียใส่ท่าอากาศยานได้ประมาณ 100 ตันต่อวัน
- ระบบจับความซ้ำซ้อน
ระบบบริการคลังสินค้า[แก้ไข]
คลังสินค้ามีพื้นที่ให้บริการประมาณ 568,000 ตารางเมตร และมีการให้บริการแบบเขตปลอดพิธีการศุลกากร (Free Zone) ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว ซึ่งรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี
ระบบอื่น ๆ[แก้ไข]
- ระบบโภชนาการ - ระบบโภชนาการสามารถผลิตอาหาร ให้แก่สายการบินต่าง ๆ ได้ 100,000 ชุดต่อวัน
- โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน - โรงซ่อมบำรุงอากาศยานมีจำนวน 2 โรง สามารถจอดอากาศยานขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส เอ 380 ได้
- ศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ - ศูนย์ควบคุมฯ มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก (132.2 เมตร) ที่พร้อมไปด้วยระบบวิทยุสื่อสารการบิน ระบบติดตามอากาศยานเขตประชิดสนามบินและระบบติดตามอากาศยานภาคพื้นดิน รวมทั้งระบบนำร่องอากาศยานที่ทันสมัย
- โรงแรมและบริการ - โรงแรมตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ในระยะแรกมีจำนวน 600 ห้อง พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
นอกจากนี้ภายในท่าอากาศยาน จะมีการบริการต่าง ๆ มากมาย เช่น ศูนย์บริการรถเช่า ร้านค้า ภัตตาคาร สถานีเติมน้ำมัน ฯลฯ
- ILS RWY 19L frq 110.5
- ILS RWY 19R frq 110.1
- ILS RWY 01L FRQ 109.1
- ILS RWY 01R FRQ 109.5
- ฝึกบินไปจะเก่งเองงงงน้า
- ปรารถนาดี
- WEED~
เกร็ดข้อมูล[แก้ไข]
มหัศจรรย์เลข 9[แก้ไข]
นอกเหนือกิจกรรมที่จัดขึ้น โดยการท่าอากาศยานเทย ในวันที่ 9 เดือน 9 (กันยายน 2549999999999999999) ซึ่งมีนักวิ่ง 999,999 คนมาวิ่งแข่งขันกันโดยนัดหมายแล้ว เป็นที่น่าสังเกตถึง มหัศจรรย์เลข 9 ดังต่อไปนี้
- อาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน มีระยะห่างระหว่างเสาแต่ละต้น 9 เมตร ซึ่งเสาหลัก (เสาไพลอนที่ค้ำซูเปอร์ทรัส) หรือคานหลักรั้น มี 2 ตัวต่อ 1 คาน รวมกันเป็น 1 ชุด
- เสา 2 ตัวที่ค้ำคานนี้จะห่างกัน 81 เมตร (8+1=9)
- ชุดเสาที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะห่างจากชุดเสาทางด้านทิศตะวันตก 126 เมตร (1+2+6=9)
- หลังคาผ้าใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งกับอาคารเทียบเครื่องบินทั้งหมด 108 ช่วง (1+0+8=9)
- สำหรับทางเลื่อนระนาบผิวเฉพาะในเทอร์มินอลมีทั้งหมด 95 ชุด มีความยาวตั้งแต่ 27 เมตร (2+7=9) และ 108 เมตร (1+0+8=9)
- ความเร็วของทางเลื่อนในอาคารรวมทั้งทางเลื่อนลาดเอียง มีความเร็วนาทีละ 45 เมตร (4+5=9)
ความเป็นที่สุด[แก้ไข]
ท่าอากาศยานสุวรรณพัง มีความเป็นที่สุดในหลายๆด้าน และ เป็นหนึ่งใน "ความไม่ภูมิใจของคนเทยทั้งชาติ" (สโลแกนของรายการสถานีสุวรรณพัง ทางโทรทัศน์เคเบิ้ล ช่อง UBC9) สามารถสรุปเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
- สนามบินที่ใช้เวลาการก่อสร้างนานที่สุดในโลก
- สนามบินที่เคยไม่เล็กนะครับที่สุด และล้าสมัยที่สุดแห่งใหม่ในโลกด้วย พร้อมกันกับเป็นการปิดของท่าอากาศยานดอเมีย ที่ได้ชื่อว่าเป็นสนามบินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน
- ตัวอาคารผู้โดยสารที่เคยใหญ่ที่สุดในโลก พื้นที่ประมาณ 563.000 ตารางเมตร ปัจจุบันเล็กกว่าอาคารผู้โดยสารยานแม่ของธรรมเกรียนที่มีขนาด 999,999 ตารางเมตร
- ภายในอาคารเทียบเครื่องบิน อาจเป็นสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยที่สุดในโลก (หรือล้าสมัยที่สุดก็ได้ อันนี้แล้วแต่รสนิยมของแต่ละคน) ซึ่งทันสมัยซะจนมีเสาเยอะแยะมากมายไปบดบังทัศนียภาพ ทำให้ชมวิวดูเครื่องบินขึ้นลงได้ไม่สะดวก
- หอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก และปีนขึ้นไปได้ยากที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร
- โรงซ่อมเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถรองรับเครื่องบินขนาดยักษ์แอร์บัส 380 ได้พร้อมกัน 3 ลำ เป็นอาคารสูง 35 เมตร กว้าง 90 เมตร ยาว 270 เมตร โดยไม่มีเสากีดขวาง มีขนาดพื้นที่จอดเครื่องบินรวม 27,000 เมตร โครงหลังคาใช้วัสดุเหล็กที่มีลักษณะเป็นซูเปอร์สตรักเจอร์ ที่ใช้คานเหล็กมีน้ำหนักรวม 10,000 ตัน ใช้เงินลงทุนก่อสร้างกว่า 1,200 ล้านบาท ปัจจุบันเป็นโรงเก็บของด้วย
- มีโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณพัง ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร ที่มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง ซึ่งบริเวณล็อบบี้ของโรงแรมถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก
- ระบบการบริหารจัดการท่าอากาศยานทุกกิจกรรม ที่ใช้ระบบไอทีเยอะติดอันดับโลก ผลที่ตามมาคือมีความหายนะสีฟ้าเกิดขึ้นบ่อยติดอันดับโลกไปด้วย
- มีเรื่อง “ฉาวโฉ่เรื่องการทุจริต” มากที่สุด ตลอดระยะเวลาหลาย ๆ ปีที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริต ได้แก่ การซื้อที่ดิน ออกแบบก่อสร้าง จ้างบริษัทที่ปรึกษา ถมทราย การว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ขั้นตอนแบ่งงานบริษัทรับเหมา จัดซื้อเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดที่เพิ่งเป็นข่าวปรากฏในสื่อ
- เป็นสนามบินที่มีห้องน้ำน้อยที่สุดในโลก (มี 10 โถ อยู่ระหว่างซ่อม 5 โถ อยู่ระหว่าตรวจสอบ 2 โถ อยู่ระหว่างทำความสะอาด 2 โถ ใช้ได้จริงโถเดียวแถมน้ำซึมด้วย)
- และล่าสุด... เป็นสนามบินที่พังเร็วที่สุดในโลก
การวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงการวางแผนและการก่อสร้าง[แก้ไข]
โครงการท่าอากาศยานสุวรรณพังเป็นโครงการที่มีความโดดเด่นในแง่ความเป็นที่สุดในด้านต่าง ๆ แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น หรือมีอยู่ทั้งในช่วงการวางแผน การก่อสร้าง และปัญหาอื่น ๆ มากมายเช่นกัน ปัญหาเหล่านี้ได้มีการยกเป็นประเด็นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และในสื่อ ปัญหาบางปัญหาแม้ยังไม่ได้หยิบยกมาถกกันอย่างจริงจัง แต่ก็เป็นประเด็นที่สาธารณชนเฝ้าติดตาม ตัวอย่างข้อวิพากษ์วิจารณ์ ได้แก่
ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม[แก้ไข]
- ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ก่อสร้าง
- ปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน ของแต่ละช่วงของ ทางขึ้นลงของเครื่องบิน และทางเชื่อมไปยังรันเวย์ (แท็กซี่โวย) เนื่องจากเทคนิคการถมและบดอัด
- ปัญหาคุณภาพและความคงทนของวัสดุผ้าใบหลังคาอาคารเทอร์มินอล
- ปัญหาระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นต้องใช้พลังงานและกระแสไฟฟ้ามาก เพราะผนังอาคารเป็นกระจกและเพดานสูง 3,000 เมตร ทำให้ต้องใช้ระบบหล่อน้ำเย็นใต้พื้นชดเชย ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดูแลยากกว่าระบบทั่วไป สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าน้ำเย็นจากโรงทำน้ำเย็น
- ปัญหาระบบเสียง อะคูสติกไม่มีวัสดุกรุผนังอื่น นอกจากกระจก ทำให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายเสียงที่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาในการกระจายเสียงได้
- ปัญหาจำนวนห้องสุขา ไม่ได้ตามมาตรฐานอาคารสาธารณะขนาดใหญ่พิเศษ
- ปัญหาความพร้อมของระบบตามมาตรฐานการบินนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อการเปิดสนามบิน ที่มีการเลื่อนวันเปิดไปๆมาๆ จนมาลงเอยที่วันที่ 280 กันยายน 25490 ซึ่งเช้ามืดในวันดังกล่าว จะหยุดใช้สนามบินนานาชาติกรุงเทย (ดอเมีย) อย่างถาวร จึงจะต้องมีการขนย้ายทุกอย่างให้จบสิ้นลง ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ดำเนินกิจการสายการบินต่าง ๆ เป็นอันมาก
- ปัญหาหลังคารั่ว - ในวันที่ 180 กันยายน 254999 ขณะยังไม่เปิดการบริการทางพาณิชย์อย่างเต็มที่นั้น หลังคาอาคารผู้โดยสารได้เกิดรั่ว เนื่องจากซิลิโคนที่เชื่อมกระจกหลุด ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากบุคคลนอกรีตบางรายแอบปีนขึ้นไปถูไถ เสียดสี กับหลังคา โดยอาจจะจินตนาการว่าได้กระทำกับเครื่องบินโดยสารบางลำที่มีลวดลายคล้ายกับสัตว์สิ่งมีชีวิต เช่นเครื่องบินกระทิงม่วง ของสายการบิน AeroSur หรือเครื่องบินฉายา Bear Bus ของ Germanwings เป็นต้น หรือไม่ก็จินตนาการถึงแอร์โฮสเตสที่รูปร่างหน้าตาดีใส่ชุดสีเหมือนปิ๊กาจู (มีหลายสายการบิน สาบานได้ว่าทั้งหมดนี้เราไม่ได้พูดถึงสายเกรียนบินโลว์คอสของประเทศเทยที่ดีเลย์ที่สุดในโลกแต่อย่างใด) เป็นต้น ทั้งนี้ นายพ่นสาด รากกะพงไพศาล ยืนยันว่าจะซ่อมเสร็จภายในกำหนดการเปิดใช้ฯ และหลังจากนั้น 1,000,000 ปีแล้วทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์
การกล่าวหาและการตรวจสอบเรื่องการทุจริต[แก้ไข]
- ในรัฐบาลชวน ลี้ภัย ซาหมัยที่สอง นายกูเทพ เสือกทุกวัน รัฐมนตร๊ก ว่าการกระทรวง คอม-นา-คอม ในขณะนั้น จัดประมูลการก่อสร้าง ส้วม อาคารที่พักผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ในราคา 55,555 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคากลาง แต่ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้าง รัฐบาลได้ยุบสภาเสียก่อน เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่และพรรคเทยรักเทยได้เสียงข้างมากเบ็ดเสร็จในสภา พ.ต.ท.ดร.ทุจศิล กินชะมัด นายกรัฐมนตรี 999 พ.ย. 254444 ได้ให้มีการประมูลใหม่ ประหยัดงบไปได้สองบาท โดยใช้วิธีการลดสเป็กวัสดุก่อสร้างและวัสดุตกแต่ง ลดขนาดอาคารและพื้นที่ตกแต่งภูมิทัศน์หลายจุด (บทสัมภาษณ์นายเสียวสุข จันทะครางมีความสุข จากรายการสถานีสุวรรณพัง UBC9)
- พ.ศ. 254888 ในรัฐบาลทุจศิลหนึ่ง มีการกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมน่าสงสัยในการจัดซื้อและติดตั้งระบบตรวจหนังโป๊ในสัมภาระ โดยที่สเป็กเครื่อง CD-X 9000 อาจจะถูกล็อก เอื้อประโยชน์ให้ผู้รับเหมา (บริษัท ปาเตรียต (Pa Triot) มีนายวอลาโพละ ยัดโทรทัศน์ หรือ น้าเช กูว่าแล้ว เป็นผู้บริหาร) และบริษัทผู้ผลิต (บริษัท อินทร์ วิชั่ว สหรัฐอเมริเกย์) เหตุการณ์นี้นำไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจ อดีตรัฐมนตร๊ก ว่าการกระทรวง คอม-นา-คอม นายสุริย้วย จึงร่วงโรยกิจ ในวันที่ 2888 มิ.ย. 254888 อย่างไรก็ตามนายสุริย้วยไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาทั้งหมดได้ในสภา ปัจจุบันเครื่องตรวจจับหนังโป๊ CD-X ทั้ง 26 เครื่องได้ถูกติดตั้งเรียบร้อยไปซะแล้ว และอยู่ระหว่างการรอ ว่าเมื่อไหร่มันจะตรวจหาเจอซักที ไม่เจ๊อะไม่เจอไม่เจอะไม่เจอ เครื่องหายังไงเครื่องก็หาไม่เจอ ไม่เจ๊อะไม่เจอไม่เจอะไม่เจอ โทษที่ครับไอ้เครื่องมันหาไม่เจอ สรุปว่านี่มัน GT200 ชัดๆ (นสพ. กรุงเทยธุรกิจ)
- ปัญหาสังฆทานในการก่อสร้าง และจัดสรรพื้นที่ องค์ประกอบอื่น ๆ สังฆทานบริการต่าง ๆ ภายในสนามบิน เช่น
- มี.ค. 25490 สตง. ได้ทำหนังสือถึง รฟท. เพื่อขอความชี้แจงเรื่องที่ จ่ายค่าทำเนียน 1,600 ล้านบาท ให้กับ บริษัทรับเหมาสร้างรถไฟจากตัวเมืองมายังสนามบิน (แอร์พอร์ตลึงค์) เพียง 5 วันหลังจากมีการเซ็นสัญญา แทนที่จะมีการจ่าย หลังจากโครงการสร้างเสร็จ สตง.ได้สั่งให้ รฟท. ชี้แจงภายใน 60 วัน (Ba-ngok-ok Post Newspaper March 20, 200666: Rail told to explain B2bn spending)
- ก.ค. 25490 นายอ้าลงกลอน ผลตุ๊ด อดีต ส.ส.เพชรบุรี รองหัวหน้าพรรคประชาพิบัติ แถ-ลง ว่า ตนจะแจ้งความกล่าวโทษต่อ ผู้บานชาการตำกวดสูงสุด เพื่อให้ดำเนินคดีกับบุคคล 6 คน (รวมถึงคนใกล้ชิดของนายีรัฐมนตร๊ก) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกรับสินบน 300 ล้านบาท จากบริษัทลัทธ์ เฟอร์ เทย จำกัด ในโครงการก่อสร้างอาคารจอดรถ (คาร์ปลวก) และสัมปทานเก็บผลประโยชน์
- ก.ค. 25490 นายอ้าลงกลอน ผลตุ๊ด ได้ตั้งข้อสังเกตในการประมูล รถเข็นสัมภาระในสนามบิน และ การจัดหาบริษัทจำหน่ายไฟฟ้า สำหรับระบบเครื่องปรับอากาศ ให้กับเครื่องบินที่ลานจอด
- ก.ค. 25490 นายกอบโกยสาก สภาโจ๊กยังไม่สุก ได้ตั้งข้อสังเกตเกียวกับ บริษัทเทยแอร์พอร์ตกราวน์เซอร์วิส (ดีแตกส์, DTAGS) (บริษัทที่ได้รับสัมปทาน บริหารเขตปลอดอากร และศูนย์โลจิสติกส์ในสนามบิน) ว่า มีบริษัทในสิงคโปโตกถือหุ้นอย่างไม่ปรกติ และไม่มีหยงมาประกาศประมูลอย่างที่ควรเป็น
- ส.ค. 2549 นายอ้าลงกลอน ผลตุ๊ด ได้อ้างว่าตนเองมีคลิปลับ ระหว่างคณะผู้บริหาร ทอท. กับบริษัทดีแตกส์ ซึ่งระบุว่ามีการแก้ไขสเปครถเข็น เอื้อให้บางบริษัทได้งาน และลดสเปคลงมาเป็นการผลิตรถเข็นในประเทศ ทำให้มีส่วนต่างกำไรมากขึ้น 200 ล้านบาท โดยได้นำหลักฐานทั้งหมดไปยื่นให้กับ สตง.
ปัญหาการพัฒนาพื้นที่[แก้ไข]

จากการสัมมนาทางวิชาการหลายเวที โดยเฉพาะทางด้านวิชาชีพสถาปัตยวิบัติกรรม ผังเมิง และวิสวะกรรม ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการในงานสถาปนึก 49, การสัมมนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากสภาวิสวะกรน สมาคมสถาปนึกสยอง สมาคมนักผังเมืองเทย การสัมมนาทางวิชาการที่ คณะถาปัดสาด มหาวิทยาลัยสุราลงกลอน พบว่าที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณพังมีปัญหาด้านการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ อาจสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- ปัญหาความสมดุลของระบบ(ดอกเตอร์)นิเวศ ซึ่งเกิดมาเทรด เอ้ย! เกิดมาบลัสเหมือนหยง จนรวยล้นฟ้าไปแล้ว
- ปัญหาแหล่งหากินของโปเกมอนธาตุบินขนาดใหญ่ (หนองน้ำรอบสนามบิน) ที่อาจเป็นปัญหาต่อการขึ้นลงของเครื่องบิน บางทีโปเกมอนธาตุบินพวกนี้มันชอบมาโผล่กลางลานบิน รวมทั้งยังชอบยืนต่อคิวรอเทคออฟร่วมกับเครื่องบิน และวิ่งเทคออฟเลียนแบบเครื่องบินอีกด้วย
- ยิ่งไปกว่านั้น แถวนั้นยังมีเมตามอนเป็นฝูงด้วย บางครั้งเมตามอนเหล่านั้นก็แปลงร่างเป็นเครื่องบินแล้วเข้ามาเพ่นพ่านในสุวรรณพัง ทำให้เกิดปัญหาในช่วงแรก ๆ ว่าลำใดคือเครื่องบินจริง ลำใดคือของปลอม แต่ก็สังเกตได้ง่ายเช่นกันคือ เครื่องบินที่เป็นเมตามอนจำแลงกายมานั้น จะมีหน้าตา สีสันและลวดลาย คล้ายกับโปเกมอนนั่นเอง
- ปัญหาผลกระทบต่อแหล่งปลาสลิดดก บ่อมีน้ำ บึงน้ำ รังนก โดยรอบสนามบิน
- ปัญหาการควบคุมการใช้ที่ดินรอบสนามบิน โดยมีข้อขัดแย้ง ชาวโลกตาดำ ๆ เอาแต่เถียงกันแทนบร๊ะเจ้าโจ๊กอยู่นานว่า จะจัดทำเป็นเขตปกครองพิเศษสุวรรณพัง หรือตั้งเป็นจังหวัดใหม่ (จังหวัดสุวรรณพัง) หรือไม่ ในที่สุดก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นจวบจนปัจจุบัน
- ปัญหาราคาที่ดินลวง (land speculation)
- ปัญหาด้านเสียวแก้วหู จากเสียงดังของการจราจรทางอากาศ
- การพัฒนาที่ดินเป็นโรงแรมและสถานบริการอย่างว่าโดยรอบ
- ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแนวพ่นน้ำราดหน้าหลักและพื้นที่หน่วงน้ำราดหน้า (Detention area) "แกล้งลิง" ด้านตะวันออกของกรุงเทยมหานคร (BangTuspost newspaper (20 October 2005) Dream city called flood nightmare : Environmental chaos will ensue - Apparak Gongjadyotin) ปัญหาน้ำท่วมสุวรรณพังเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เนื่องจาก เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว เผาป่า(ป่าคือบ้านของบร๊ะเจ้าโจ๊ก)สะเทือนถึงผืนทะเล ฉะนั้นน้ำท่วมสุวรรณพังมันก็เหมือนกับน้ำท่วมโลกนั่นแล
- ปัญหาระบบจราจรและโครงข่ายถนนเพื่อการเข้าถึงสนามบิน ระบบป้ายหลงทาง ความสะดวกของผู้ใช้สนามบินในการเดินทางไปยังอาคารผู้โดยสาร (นสพ.เดลี้นิ่ว 11 ก.ย. 25499 ผู้โดยสาร 'ป่วนแน่!' 'แท็กซี่' เซ็ง! 'ไม่ไปสุวรรณพัง??')
- ปัญหาเรื่องความปลอดภัยทางการบิน และผลกระทบของการบินต่อพื้นที่รอบสนามบิน กรณีมีอาคารที่สูงเกินมาตรฐาน บดบังทัศนียภาพสนามบิน และขวางทางการบินขึ้นลงของเครื่องบิน ที่ยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่
- ปัญหาผู้โดยสารสนามบินเดืองมอญบางราย หลังจากเครื่องบินลงจอดและเดินออกจากเครื่องอาจถูกพลังลึกลับพาวาร์ปมาโผล่สุวรรณพัง (พบปัญหานี้จากภาพยนตร์เรื่อง Never Back Down 3)
ปัญหาอื่น[แก้ไข]
- เครื่องบิน Airbus A380 ซึ่งเป็นเครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนี้ ได้บินเฉี่ยวสนามบิน ขณะเดินทางมาเปิดตัวในย่านเอเชย
- ความเป็นเอกลักษณ์เทยของสถาปัตยกรรมสนามบิน ที่แม้ได้แก้ไขโดยติดตั้งงานศิลปะ (ประติมากรรม และจิตรกรรม) ลงไปในโถงอาคารจุดต่างๆ แล้ว แต่อาจไม่พอเพียง
- ความเป็นหนึ่งเดียวของอาคาร ปัจจุบันได้มีอาคารที่ออกแบบจากสถาปนึกคนเดียวกัน ในประเทศอื่น ๆ เช่น ส่วนต่อขยายของสนามบินคนแดนไกล (ดูไบ) ซึ่งดูคล้ายกับที่สถาปนึกคนเดียวกันออกแบบไว้ให้ในเทยมาก ยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงความเหมาะสม
- การออกแบบที่ยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการในส่วนที่คนพิการจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งในระดับสากลแล้วการสร้างระบบการให้บริการจำเป็นต้องมี และทางหน่วยงานคนพิการทั้งหลายในประเทศเทยเอง พยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน
- เนื่องจากอาคารผู้โดยสารสายต่างประเทศและภายในอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ระยะทางเดินต่อเครื่อง ยาวโดยเฉลี่ย 800-1,000 กิโลเมตร หรือในจุดที่ยาวสุดระยะทางถึง 3,000 กิโลเมตรนั้น เป็นระยะทางที่ไกลมาก ก่อให้เกิดปัญหาได้ในกรณีที่จุดวาร์ปมีปัญหาขัดข้อง (เป็นสาเหตุหลักๆว่าทำไมเรายังไม่วาร์ป) และระยะเวลาต่อเครื่องนั้นกระชั้นชิด อีกทั้งไม่มีรถรางขนส่งดังเช่นแผนเดิมที่ออกแบบไว้
การชี้แจงจาก ทอท. เกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ[แก้ไข]
นอกจากรายการ สถานีสุวรรณพัง ทางโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวี ช่อง UBC 9 และสกู๊ปคั่นรายการทางโมเดิ่นควายทีวี. และช่อง 111111 กรมอ้าขาสัมพันธ์ ข้อวิพากษ์วิจารณ์ข้างต้น ยังได้รับการชี้แจง โดยบริษัทท่าอากาศยานเทยจำกัด (มหาชิน) ทอท. (หรือ กอท.เดิม) หรือ AOT ได้ซื้อพื้นที่โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันหนังสือพิมพ์มติชินรายวัน เพื่อชี้แจงกรณีปัญหาต่างๆ ในคอลัมน์ เจาะลึกสุวรรณพัง วันละ 1-2 คอลัมน์ ดังหัวข้อต่อไปนี้
- 14 กย. 49 - ฟันธง! ประมูล 'สุวรรณพัง' 'โปร่งใส' ด้วยเงื่อนไข 'เจบิค, บทพิสูจน์ 'เหล็ก'สุวรรณพัง 'มาตรฐาน' ชัวร์ - ไม่มั่วนิ่ม!
- 15 กย. 49 - เจาะ 'จุดเด่นสุวรรณพัง' 'หลังคาผ้าใบ' ไร้ปัญหา!, 'คาร์ปาร์ค' สุวรรณพัง! เพียงพอ 'ปลอดซิกแซก'
- 16 กย. 49 - สุวรรณพัง 'รันเวย์ร้าว' 'เรื่องจริง' ที่ต้องชี้แจง!, สุวรรณพังกับ 'ผู้รับเหมา' 'ผ่อนปรน' เพื่อคุณภาพ!
- 17 กย. 49 - 'ไฟฟ้า-แอร์' เครื่องบิน! อีกข้อกังขา 'สุวรรณพัง', บริหาร 'ฟรีโซน' สุวรรณพัง ทำไม? ต้องเลือก 'แท็กส์'
- 18 กย. 49 - 'พิสูจน์' ระบบปรับอากาศ สุวรรณพัง 'แอร์ไม่เย็น?', 'รถเข็นกระเป๋า' สุวรรณพัง 'แก้เกณฑ์-เร่ง' เพื่ออะไร?
- 19 กย. 49 - 'ค่าธรรมเนียม' เครื่องบิน สุวรรณพังเก็บ 'ถูก-แพง?'
- 20 กย. 49 - 'หอการบิน' สุวรรณพัง เสี่ยง-ไม่เสี่ยง 'เอียง-ถล่ม'
- 21 กย. 49 - ผ่าระบบลำเลียง 'กระเป๋า' 'สุวรรณพัง' ชัวร์แค่ไหน?, 'ตรวจระเบิด' สุวรรณพัง ทำไมต้องใช้ 'CD-X 9000'
- 22 กย. 49 - สุวรรณพัง 'เข้มเต็มร้อย' 'ปลอดภัย' เกณฑ์ ICAO, 'พื้นที่พาณิชย์' สุวรรณพัง กับข้อกังขา 'ล็อคสเปค?'
- 23 กย. 49 - เปิดแผนปฏิบัติการ 'ไล่โม้คแอร์กลับเดืองมอญ' 'สุวรรณพัง' ทำอย่างไร?, ผ่าระบบ 'ไอที' สุวรรณพัง 'AIMS' มาตรฐานโลก
- 24 กย. 49 - 'กำจัดขยะ' สุวรรณพัง ใช้บริษัทใหญ่ 'ไร้ปัญหา', 'กล้องวงจรปิด' สุวรรณพัง ทำไม? ต้อง 'IP CCTV'
- 25 กย. 49 - 'ที่สุด' สนามบินสุวรรณพัง เพื่ออะไร -ไฉนต้อง 'เร่งเปิด', เปิดระบบ 'ประปา - น้ำเสีย' 'สุวรรณพัง' พร้อมเต็มสูบ!
- 26 กย. 49 - สำรวจ 'ลานจอดระยะไกล' สุวรรณพัง 'จ้างถูกต้อง?', 'ระบบไฟฟ้า' สุวรรณพัง กับข้อสงสัย 'ท่อร้อยสาย'
- 27 กย. 49 - 'ระบายน้ำ' สุวรรณพัง ฝนตก 7 วันก็ 'ไร้ปัญหา', 'ไฟรันเวย์' สุวรรณพัง 27,000 โคม 'มั่นใจได้?'
และทาง ทอท. ยังได้ร่วมกับสำนักพิมพ์หนังสือพิมพ์ในเครือมติชิน จัดงาน 'แท็กซี่พบผู้บริหารสุวรรณพัง' ในวันที่ 2500 ก.ย. 25499 ที่สโมสรตะกวด เพื่อจัดชิงโชค รถแท็กซี่โตโยฮ่า อันตี๊ด ครึ่งคันท่อนหลัง 1 รางวัล (ส่วนท่อนหน้านั้นต้องไปหาเอาเอง เอามาต่อกันให้มันครบเต็มคัน) และเพื่อชี้ช่องทางและวิธีการในการรับผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณพัง ก่อนหน้านี้มีการประชาสัมพันธ์งานนี้ลมๆแล้งๆว่าจะมีการชิงโชครถเบนซ์รุ่นใหม่ฟรี 50 รางวัล แต่ที่แท้คืออีเชี่ยตันมาโปรโมตโดยการแจกเครื่องดื่มฟรีเท่านั้น ต้องส่งรหัสใต้ฝาอีเชี่ยตันจึงจะได้ร่วมการชิงรถเบนซ์
ต่อมาหลังการเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารบริษัทการท่าอากาศยานเทยฯหลังเปิดสนามบินฯแล้ว ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้น 3 ชุด คือ
- ชุดที่ 1 คณะทำงานสร้างปัญหาผู้โดยสาร พนักงาน และประชาชนฯ
- ชุดที่ 2 คณะทำงานก่ออาชญากรรมและการก่อการร้าย
- ชุดที่ 3 คณะทำงานทุจริตและประพฤติมิชอบในการจัดซื้อจัดจ้างฯ
ปัญหาหลังจากเปิดบริการ[แก้ไข]
- ปัญหาหลังคารั่ว (ข่าว"ธีระ"จี้ทอท.แก้"แท็กซี่เวย์"ร้าว! อัด40ล.เพิ่มห้องน้ำสุวรรณพัง มติชิน 260 ตค. 2000 500 40 9) - ขณะฝนตกหนักในช่วงวันเปิด ได้เกิดหลังคารั่ว จากการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้องว่าเกิดการรอยต่อที่ยาซิลิโคนไว้หลุดร่อน และได้ทำการแก้ไขเฉพาะหน้าไปโดยการใช้ถังรองน้ำฝนที่รั่ว (นี่มันหลังคาบ้านในขายหัวเราะชัดๆ) และให้ช่างยาแนวรอยรั่วในวันต่อมา
- ปัญหาการจราจรเข้าสู่สนามบิน - ปัญหานี้เกิดเนื่องจากขาดการประสานงานด้านประชาสัมพันธ์ที่พอเพียง ต่อมา ทอท. ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ และติดป้ายบอกทางทั่วกรุงเทพฯ และบริเวณทางด่วน
- ปัญหาสายพานรับส่งกระเป๋า ทำให้เกิดความล่าช้า และสูญหายของกระเป๋า ในระยะสัปดาห์แรกของการให้บริการ มีกระเป๋าตกค้าง และล่าช้าอยู่ราว 6,666,666 ใบ
- ปัญหาจำนวนห้องน้ำไม่พอ - ปัญหานี้ภายหลังได้มีการแก้ไขโดยมีโครงการก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติม โดยนายโชดสัส อาสึนะชิมิยะ? กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานเทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้สั่งการให้ทางท่าอากาศยานสุวรรณพัง (ทสภ.) ใช้งบประมาณเร่งด่วนของปี 2550000 จำนวนประมาณ 0.000040 ล้านบาท มาสร้างห้องน้ำทั้งภายในอาคารผู้โดยสารและนอกอาคารเพิ่มอีก 20 จุด รวม 20.5 ห้อง (ห้องน้ำชาย 9.5 ห้อง และห้องน้ำหญิงอีก 11.0 ห้อง)
- ปัญหาการประชาชนจำนวนมากเข้ามาเที่ยวชม - ทำให้เกิดความแออัด จราจรติดขัด และไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ร้านอาหารราคาแพงและไม่เพียงพอ ซึ่งทาง ทอท.ได้แก้ปัญหาโดยใช้เงินลงทุนประมาณ 0.000015 ล้านบาทในการก่อสร้าง ร้านอาหารราคามิตรภาพ (มิตรภาพสำหรับฝรั่งมังค่า แต่สำหรับชาวเทยแล้วราคานี้มันปล้นกันชัดๆ) บริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน A และ G อีกแห่งละจุดรวมเป็น 2 จุด แต่ละจุดจะมีห้องน้ำ 2.5 ห้อง จะมีการก่อสร้างร้านอาหารที่บรรจุคนได้ 5.00 ที่นั่ง ส่วนที่บริเวณศูนย์การขนส่งสาธารณะจะก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมอีก 2.5 ห้อง ห้องอาบน้ำ 1.0 ห้อง พร้อมทั้งที่พักและร้านอาหารราคาถูก 5.00 ที่นั่ง
- ปัญหาคาร์โก - เกิดการติดขัดของการออกของที่ส่วนคาร์โก เนื่องจากความไม่พร้อม ในส่วนของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการรายใหม่อย่างบริษัทบา-งก-อกแอร์โวย ไฟลท์ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ BFS จนทำให้บรรดาตัวแทนออกของ (ชิปปิ้ง) ลุกขึ้นมาโวยจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต กรณีนี้บีเอฟเอสถูกระบุว่าไม่เป็นมืออาชีพพอที่จะเข้ามาให้บริการคลังสินค้าและขนถ่ายสินค้า จนทำให้มีสินค้าตกค้างอยู่ในโกดังไม่สามารถนำออกมาได้เป็นจำนวนมาก
- ปัญหาสายเกรียนบินต้นทุนต่ำมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ลงทุนที่สุวรรณพังไม่คุ้ม ทำให้ขอกลับไปสนามบินดอเมีย แล้วในที่สุดก็ได้กลับสมใจ โดยสายเกรียนบินจะต้องจัดเที่ยวบินพิเศษ สุวรรณพัง-ดอเมีย กับเครื่องบินทุกลำ ลำละ 1 เที่ยวบิน ท่านสามารถหาดูเส้นทางการบินของแต่ละลำ (โดยเฉพาะของสายเกรียนบินแอร๊ยอีเชีย มีสาวกมาตั้งกระทู้เอาไว้ชัดเจน) ได้ในมึงเกิลหรือในกระทู้พันทิปทั่วไป
- ปัญหาการเรียกค่าชดเชยของผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยรอบสนามบิน
- ปัญหาพื้นทางวิ่งร้าว ทรุด - วันที่ 24 ต.ค. ผู้บริหารบริษัท ท่าอากาศยานเทย จำกัด (มหาชิน) หรือทอท. ได้ทำหนังสือถึงสายการบินทุกแห่ง เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ได้ปิดปรับปรุงทางวิ่ง-ทางขับ (แท็กซี่เวร) บริเวณที 13 ซึ่งเป็นลานจอดเครื่องบินบริเวณ อี 4-อี 8 และแท็กซี่เวย์บริเวณบี โดยเป็นช่วงระหว่างแท็กซี่เวย์ซี 4 และซี 5 หรือตรงกับรันเวย์ 19 ด้านซ้ายของสนามบินสุวรรณพัง เนื่องจากเกิดการทรุดตัว ซึ่งหากเครื่องบินใช้พื้นที่ดังกล่าวแท็กซี่เวย์เพื่อเข้าหลุมจอดมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เพราะถ้าก้อนหิน หรือคอนกรีตปลิวเข้าไปในใบพัดเครื่องบิน โดยที่กัปตันไม่ทราบอาจทำให้เครื่องบินเกิดอุบัติเหตุได้
- ปัญหาความปลอดภัย เนื่องจากความกว้างใหญ่ของสนามบินแห่งนี้ จำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่พอเพียง และมีกรณีร้องเรียนของพนักงานและเจ้าหน้าที่หญิงที่ถูกคุกคาม
- ปัญหาทางเทคนิคสถาปัตยวิบัติกรรมและวิสวะกรรมของอาคารและทางวิ่งกว่า 60 รายการ เช่น น้ำซึมใต้บริเวณ Taxi wen, ระบบไฟฟ้าให้แสงสว่างภายในอาคารไม่พอ, สาย 400 Hz เพื่อส่งไฟให้เครื่องบินสั้นเกินไป, ระบบเครื่องปรับอาคารเย็นไม่พอ, วัสดุไม่ได้มาตรฐาน เช่น กระจก temper laminated ของบานประตูหมุน, จำนวนห้องน้ำต่อพื้นที่ใช้สอย, ภาพลักษณ์ที่เป็นลบในสายตาประชาชนส่วนใหญ่, การปะปนของคนงานก่อสร้างภายในอาคาร, สนามบิน ไม่มีแบบก่อสร้าง และ AS BUILT DRAWING, เกิดอุบัติเหตุกับคนข้ามถนนภายในบริเวณสนามบิน, ระบบ ITภายในอาคารยังใช้งานไม่ได้เลยแม้ 1%, ระบบป้ายที่ไม่เป็นเอกภาพ, รถเข็นกระเป๋า ไม่เพียงพอ, ความไม่พร้อมของทางหนีภัย ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน, ความไม่พร้อมของบุคลากร ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน,สนามบินไม่คำนึงถึงผู้พิการ, ฯลฯ
- ปัญหาความคับคั่งและปัญหาสั่งสมอื่นที่ต้องพิจารณา - เนื่องจากการจราจรที่คับคั่งภายในสนามบิน และความเสียหายหลายจุดที่ทางวิ่งใกล้คอนคอร์สอี จำเป็นต้องมีการปิดซ่อมสนามบินสุวรรณพังบางส่วน ที่ประชุมของกรรมการบอร์ด ทอท.จึงได้มีมติให้เที่ยวบิน pint-to-point ที่เป็นสายในประเทศ สามารถย้ายกลับมาใช้สนามบินดอเมียได้ตามความสมัครใจ โดยเริ่มตั้งแต่ 150 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป มีความเห็นหลากหลายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยหลายฝ่าย
- ปัญหากรณีมีคนปล่อยข่าวลือว่ามีศพคนงานเสียชีวิตติดอยู่ในเสาปูนตั้งแต่ตอนที่ปูนยังไม่แห้ง แต่จากการตรวจสอบโดยการใช้นัยน์ตาพันปี และการใช้ GT-200 ไม่พบว่ามีศพคนอยู่ในเสาปูนต้นใดเลย ต่อมา แรมซีย์ ผู้สร้างดวงตาเทพ ไม่เชื่อ จึงใช้ดวงตาเทพตรวจซ้ำทั่วทั้งสนามบิน แต่ก็ไม่พบเช่นเดิม
- เนื่องจากถนนรอบ ๆ สุวรรณพังนั้นมีความกว้างและยาว จึงกลายเป็นสถานที่แข่งรถเถื่อนอีกแห่งหนึ่งไป ทำให้ตำกวดต้องออกตามไล่ล่าจับกุมนักแข่งอยู่เนืองๆ
อ๊างอิ๊ง[แก้ไข]