ข้อมูลปกปิด

จากไร้สาระนุกรม — ส่วนหนึ่งของโครงการไร้สาระนุกรมเสรี แหล่งรวบรวมเรื่องราวตลกขบขันและบิดเบือนข้อเท็จจริง
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
Wikisplode.gif
สำหรับผู้ที่ไร้อารมณ์ขันสิ้นดี เหล่าผู้เชี่ยวชาญที่วิกิพีเดียมีบทความที่โคตรมีสาระ ที่นี่!
Mikuru Asahina2.jpg บทความนี้มีข้อมูลปกปิด
แต่ด้วยเหตุผลบางประการ เราเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้จริงๆ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้


ข้อมูลปกปิดในภาษาปะกิดคือคำว่า classified เห็นได้หลายๆครั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับความลับทางราชการ และทางทหารต่างๆ

ถ้าท่านเห็นลิงก์คำว่า ข้อมูลปกปิด ในคราวหน้า ก็ให้รู้ไว้ว่ามันจะโยงมาหน้านี้อ่ะแหละน่ะ อย่าหวังว่าจะเจอข้อมูลเพิ่มเติมอันใด(แต่มันก็ไม่แน่เสมอไป ลองอ่านข้อสุดท้ายในหัวข้อ ข้อสังเกต สิ)

คำจำกัดความ[แก้ไข]

ข้อมูลปกปิด คือข้อมูลที่ไม่สามารถแพร่งพรายสู่ภายนอกได้ มันมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของ ชาติ การเมือง การปกครอง ทางทหาร การต่างประเทศ การทูต สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ขี้หมูรา ขี้หมาแห้ง และอีกหลายๆ อย่าง โดยข้อมูลปกปิดนี้จะถูกจำกัดผู้รับ และมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดเป็นอย่างยิ่ง ว่ากันว่าผู้ที่ทำให้ข้อมูลปกปิดนั้นถูกแพร่งพรายออกไป อาจมีโทษถึงฆ่าตัดแล้วจับตอนหรือถ้าหน้าตาดีหน่อยก็อาจจะข่มขืนเเล้วฆ่าเจ็ดร้อยห้าสิบชั่วโคตรเลยทีเดียว ละมั้งนะเออ เหอๆ ปกปิดไว้ เพราะมันคือความลับ!!

ประวัติศาสตร์[แก้ไข]

ไม่ทราบที่มาแน่ชัด เพราะมันคือ ข้อมูลปกปิด

การกำเนิด[แก้ไข]

ที่มา ไม่แน่ชัดว่าเริ่มใช้ตั้งแต่เมื่อใด เพราะครั้งแรกที่ใช้มันก็ถูก ปกปิด เสียแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ที่มาที่แน่นอน แต่น่าจะเกิดขึ้นกับการเมียเป็นครั้งแรก เมื่อฝ่ายฝาละมีต้องการแอบนอกใจภริเมียจึงต้องส่งข้อความลับถึงอีหนู ซึ่งตามเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา ฝ่ายฝาละมีที่ถูกจับได้นั้นจะถูกฆ่าตัดแล้วจับตอน หรือ ข่มขืนเเล้วฆ่า ดังนั้นการลงโทษผู้ที่ทำให้ข้อมูลปกปิดแพร่งพรายจึงถูกลงโทษด้วยวิธีนี้เสมอมา

ประวัติการใช้งาน[แก้ไข]

บุคคลที่ไอ้0006 อยากจะบอกแทบตายว่าเป็นใคร แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นใคร เลยทำได้แค่...
ข้อมูลปกปิดที่เก็บในคอมพิวเตอร์ในรูปของพลังลึกลับโดยท่านผู้นั้น
ข้อมูงปกปิดของห้างสมอล์ซี
  • ในระดับประเทศ มักจะใช้กับหน่วยงานสำคัญๆ เช่นหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือทางทหาร จะตราที่หัวเอกสารไว้เลยว่า "ปกปิด" แต่ถึงกระนั้น ก็มีคนเอามาเปิดเผย (เปิดโปง) อยู่ดี
  • ระดับพื้นบ้าน พื้นเตียงมักจะใช้กันระหว่าง ฝ่ายฝาละมี กับอีหนู หรือคู่ขาต่างๆ เพื่อบอกความนัยถึงกัน
  • ระดับสื่อมวลชน บุคคลที่อยากจะบอกแทบตายว่าเป็นใคร แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นใคร เลยทำได้แต่อักษรย่อหรือคำใบ้ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ท่านผู้นั้น) หากบอกออกมาตรงๆ ไม่โดนฟ้อง 500 ล้าน ก็กินข้าวผัดจานละ 5,000 นั่นแล....

ผู้ใช้[แก้ไข]

ผู้ใช้ที่สำคัญ เช่น

ส่วนสาเหตุของการใช้ของพวกเขานั้น ยังเป็นข้อมูลปกปิดอยู่ อย่างไรก็ตาม วลี "ข้อมูลปกปิด" นี้ ไม่มีลิขสิทธิ์ ใครจะใช้วลีนี้ก็ได้ แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดใช้วลีนี้เป็นคนแรก

ข้อสังเกต[แก้ไข]

  • เมื่อใช้คำว่าข้อมูลปกปิดนั้นจะหมายถึงข้อมูลที่ปกไม่เปิด ซึ่งผู้คนทั่วไปไม่สามารถแอบมองได้ ดังนั้นหน้าปกของมันจึงปิดอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเมื่อมีผู้อื่นมาอ่าน เราก็จะไม่เห็นเนื้อในมัน เพราะเขาจะหันด้านสันปกมาให้เรา
  • บางทีข้อมูลปกปิดก็จะเขียนด้วยรูปแบบของรหัส หรือคลื่นสัญญาณต่างๆ เราจึงไม่สามารถอ่านได้ แต่ถ้าเป็นคลื่นสัญญาณในแมสเซจของมือถือ บางทีอาจจะถูกภริเมียแอบเปิดอ่านได้ ดังนั้นจึงควรระวังไว้ให้ดี
  • ถ้าต้องการปกปิด (เซนเซอร์) ชื่อของบุคคล อาจจะใช้คำว่า "ท่านผู้นั้น" แทนการใช้คำว่า "ข้อมูลปกปิด"
  • ข้อมูลปกปิด คือข้อมูลที่เราไม่รู้ ฉะนั้น คำว่า ข้อมูลปกปิด อาจถูกเขียนไว้แก้เก้อ โดยที่ผู้แต่งก็ยังไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรลงไปในนั้นก็ได้
    • โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเว็บไร้สาระนุกรมซึ่งมักจะเห็นวลีนี้ได้บ่อยที่สุด เนื่องจากผู้เขียนต้องการเขียนลงไปแทนที่ข้อความที่ว่างเพราะไม่รู้จะเขียนอะไรลงไปดีนั่นเอง(หรืออาจจะขี้เกียจเขียน)
  • บางครั้งข้อความลิงก์อาจจะเขียนว่า "ข้อมูลปกปิด" แต่มันไม่ได้ลิงก์มาที่หน้านี้เลย... เนื่องจากผู้เขียนอาจจะเล่นมุข หรือให้ผู้ใช้ไปตามหาความจริงเอาเอง ลักษณะเช่นนี้พบเห็นได้ตามบทความชื่อดัง เช่น ชื่อคน ชื่อร้านค้า ชื่อโรงเรียน ชื่ออื่นๆมักใช้ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ห้างดัง นาย***(นามสมมุติ) แทนชิ่อ

ดูเพิ่มเติม[แก้ไข]