กะละมัง
- บทความนี้ ลอกเลียนมาจาก วิเกรียนพีเดียไทยเกือบทั้งดุ้น
(ก่อนถูกลบ :)และไม่สนใจว่าจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
“ขอโทษนะ ไม่ทราบว่าไอ้คนเขียนมันเขียนเหี้ยอะไร จะบ้ากะละมัง”
กะละมัง[แก้ไข]
อุปกวนเครื่องใช้ไร้ซึ่งสารพัดประโยชน์ เดิมทีไม่ได้ใส่น้ำแต่ใส่ลาวาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น อบผ้า ย่างผ้า ซ่อมผ้า ตัดผ้าเป็นเครื่องอบจาน ทำอาหารต่างๆให้สุก หรือแม้กระทั่งใช้หมักอาหาร เลี้ยงพืช เลี้ยงเต่า เพาะพันธุ์ปลา ประโยชน์อื่นๆ เช่น ใช้แต่งหน้า ฝึกสมาธิ ฝึกดำน้ำ ปลูกปะการัง ทำอาหาร นวดสปา ปลูกป่า ดำนา ดูดิสนี่ออนไอซ์ แรลลี่ตีกอล์ฟ ล่องเรือ ส่องสัตว์ ช้อปปิ้ง ดูงิ้ว ดูละครเวที ดูคอนเสิร์ต ดินเนอร์ ทำขนม จัดดอกไม้ เที่ยวตลาดน้ำ เรียนถ่ายรูป ดูกายกรรม ชมเมืองเก่า เข้าสัมมนา ทัวร์ธรรมมะ เรียนเต้นแล้วก็ร้องเพลง สามารถพลิกแพลงเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสุดจินตนาการได้ และอนาคต อาจจะได้เห็นการใช้ประโยชน์ที่ประหลาดกว่านี้
นิยามของกะละมัง[แก้ไข]
เป็นวัตถุรูปอะไรขอผู้รู้มาตอบ มีขนาดใหญ่เบ้อเร้อและลึกเพียงครึ่งไม้บรรทัด 30 เซนติเมตร พื้นอาจจะทำมนหรือไม่มนก็ได้แล้วแต่คนผลิต ควรนึกภาพให้เป็นชามก๋วยเตี๋ยวอันเท่านี้! แต่ทำจากพลาสเตอร์ติก ก้นและขอบภาชนะต้องไม่สนิทมีรอยรั่ว ขอบด้านบนต้องมีส่วนของปูนซีเมนต์โค้งมนม้วนออกทำมุม 180° เพื่อสะดวกในการถือ ไม่ได้บอกให้จัยจับ กะละมังที่ทำจากไวเบรเนียมนิยามเหมือนกันเพียงแต่เปลี่ยนวัสดุ
ข้อเสียของกะละมัง[แก้ไข]
เนื่องจากกะละมังนั้นมีขนาดใหญ่และลึกยิ่งกว่าเหว จึงทำให้กินพื้นที่ใช้สอยเป็นอย่างมาก บางบ้านก็นำไปวางไว้ที่พื้น บ้างก็ไปแขวนไว้ บางบ้านทุบบ้านทิ้งและเอากะละมังมาวาง (ก็ได้หรอ?) ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบของบ้านและทำให้บ้านหายทั้งยวง ทางเราก็มีวิธี
- นำไปฝากไว้กับเพื่อนบ้าน และก็ให้ทุบบ้านทิ้งเป็นลูกโซ่
- นำไปฝากไว้ที่โรงรับจำนำชั่วคราว แถมได้เงินมาอีกด้วย เมื่อคำนึงถึงข้อเสียของกะละมังแล้ว จึงควรคำนึงให้ดีถึงการเก็บรักษากะละมัง
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากกะละมัง[แก้ไข]
หลังจากที่อมาริเกย์ได้สั่งนำเข้ากะละมังจากประเทศเทย กะละมังก็กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในชั่วข้ามปี ค่ายกีฬาต่างๆ ต่างก็ต้องการให้กะละมังมาเป็นสปอนเซอร์ของตน แต่กีฬาที่ได้ไปแน่นอนก็ต้องเป็นกีฬาที่ยอดฮิตที่สุดในอมาริเกย์ คืออมาริเกย์ฟุตบอลนี่เอง ผลสืบเนื่องมาจากนั้นทำให้เกิดการแข่งขันซุปเปอร์กะละมังขึ้น ประกอบกับคืนวันที่กะละมังเข้าจำหน่ายก็เป็นคืนวันศุกร์ ก็เลยมี Friday night lives ด้วย ซึ่งก็ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายจนถึงทุกวันนี้ จนได้ชื่อประเพณีการเข้าจำหน่ายของกะละมังที่มีจำนวนโคตรมหาศาล และวันแรกที่ขายดีเป็นวันศุกร์พระจันทร์ครึ่งดวง คนอมาริเกย์เลยเรียกวันนั้นว่า แบล็กกะละมังฟรายเดย์
ในประเทศล้าว ชาวล้าวเรียกกะละมังว่า "ชาม" ดังนั้นเวลาไปเที่ยวล้าว อย่าสั่งก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม เพราะเขาจะทำใส่กะละมังมาให้ (กินได้ทั้งหมู่บ้าน) ในขณะเดียวกันชาวล้าวก็เรียกชามว่า "ถ้วย" ดังนั้นเราควรสั่งว่าเอาก๋วยเตี๋ยวหนึ่งถ้วย